26 เมษายน 2557

11 พฤษภาคม 2555

http://www.facebook.com/deetookshop
สวัสดีครับทุกๆท่าน

01 สิงหาคม 2552

इ-तले Restaurant

สวัสดีครับทุกๆท่าน
इ-तले रेस्तरां



ร้านอาหารตั้งอยู่ที่ใสยวนมีอาหารทั้งไทยและยุโรบและมีอาหารส่งถึงบ้านในราคาเีดียวกัน เปิดตอนเช้าปิดสี่ทุ่ม ใครผ่านไปลองแวะไปทานดูครับ

31 กรกฎาคม 2552

เครื่องจักรทำเงินของคนไทย

สวัสดีครับทุกๆท่าน
http://www.cloth2rich.com/index-plan.asp?cid=२५२७


"ศึกษาธุรกิจของเราให้ดี นี่คือโอกาสในการสร้างรายได้ของคุณผ่านจอคอมแบบง่ายๆ"


"แผนการตลาดใหม่ล่าสุดของ Cloth2rich.com

แก้ไขจุดบกพร่องของงานออนไลน์

ให้สมบูรณ์แบบ 100%"

เตรียมตัวให้ดี นี่คืองานที่คุณอาจค้นหามาทั้งชีวิต

ธุรกิจออนไลน์ของคนไทย !!! เครื่องจักรทำเงินของคุณ ใครก็ทำได้

<<<<<รับรายได้รายวัน>>>>

สะกดลมหายใจของคุณให้ดี...พบกับสุดยอดธุรกิจที่จะทำรายได้ให้กับคุณได้มากถึง 100,000 บาทต่อเดือน
หากคุณคิดว่าทำได้ มันจะเป็นไปได้....
เงิน 550 บาท คุณลงทุนทำธุรกิจอะไรได้บ้าง... และธุรกิจนั้นทำเงินให้คุณได้มากเท่าไร... ศึกษารายละเอียดธุรกิจ
ของเราให้ดี

"ลงทุนครั้งแรก 550 บาท ต่ออายุเดือนต่อไป 500 บาท"

ทันทีที่คุณสมัคร คุณคือตัวแทนจำหน่ายของเรา คุณมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ธุรกิจของเราออกไปให้ผู้คนรู้จักมากที่สุด

รายได้ทางที่ 1 รายได้จากการจำหน่ายเสื้อผ้า
เมื่อคุณตัดสินใจร่วมธุรกิจกับเรา คุณจะมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการระบบทุกอย่างเพียง 500 บาทต่อเดือนเท่านั้น
คุณจะได้รับเว็บไซต์ร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์ทันทีหนึ่งร้านโดยคุณเป็นผู้จัดการร้านนั้นๆ คุณสามารถทำการโปรโมท
ขายแบบเสื้อภายในร้านได้ทันทีครับ และเมื่อมียอดขายเกิดขึ้นภายในร้านของคุณ คุณจะได้รับกำไรทันที จากการ
หักลบต้นทุนและราคาขายในแต่ละรายการสินค้า แต่ละรายการสั่งซื้อคุณจะได้รับคอมมิชชั่นทันที โดยสามารถทำการ
เบิกถอนได้โดยไม่จำกัดจำนวนรายได้ขั้นต่ำ
100 บาทหรือหลายพันบาทก็เบิกได้ทันที และแน่นอนทั้งหมนี้ คุณสามารถ
จัดการทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วยปลายนิ้ว.. ไม่ต้องมีความรู้ทางด้านเทคนิคใดๆทั้งสิ้น และภาระในการ
จัดการและบริหารงาน การจัดส่งสินค้าคือหน้าที่ของเรา อย่าลืมว่าคุณกำลังทำการตลาดให้สินค้าที่กำลังได้รับความนิยม มันจะง่ายมากๆ

รายได้ทางที่ 2 รายได้จากการแนะนำ (Enroll)หรือ
การสร้างทีมผู้จำหน่ายของคุณ

นอกจากคุณจะได้รับร้านเสื้อผ้าเพื่อจำหน่ายแล้ว คุณยังมีสิทธิสร้างทีมผู้จำหน่ายของคุณขึ้นมาเองได้อีกด้วย
รายได้นี้จะเป็นรายได้หลักที่คุณจะได้รับครับ เมื่อมีผู้สมัครทำธุรกิจผ่านร้านค้าของเราหรือจากการแนะนำของเรา
Cloth2Rich จะจ่ายให้คุณทันทีตามแผนการตลาด

แผนการตลาด New Plan !!!!
Fast Start Bonus ชั้นที่หนึ่ง "แนะนำ(Enroll) สมาชิกรับทันทีรหัสละ 500 บาท"

เมื่อเราได้ทำการโปรโมทธุรกิจออกไป เมื่อมีผู้สนใจธุรกิจและสมัครทำธุรกิจผ่านเว็บไซต์เรา เมื่อสมาชิกนั้น
ทำการชำระเงินเพื่อ
Active บัญชี คอมมิชชั่น
จะคิดที่แผน Fast Start คุณจะได้รับทันที 500 บาท
(จ่ายครั้งแรกครั้งเดียวให้กับผู้แนะนำเท่านั้น)
เช่น A enroll B C D และ A enroll E

ถ้าทุกคนเป็นสมาชิกใหม่ A จะได้รับ 2,000 บาท
ปล.ถ้า A โอน E ให้ B โดยไม่ได้กำหนดให้ A enroll E แล้ว (การโอนสมาชิกสามารถกำหนดได้)
ถือว่า B enroll E และเป็นอัพไลน์ E ด้วย ดังนั้น A จะได้รับ 1,500 บาท และ B ได้ 500 บาท


แผนองค์กรหลัก
นั่นคือ เมื่อสมาชิกที่แนะนำมานั้นชำระเงินค่าบริการในงวดเดือนต่อไปให้จัดเข้าแผนองค์กรหลัก
จ่ายตาม Level 5 ชั้น ชั้นละ 100 บาท โดยกำหนดให้สมาชิกติดตัวได้ 5 คน จัดเรียงออโต้ดังนี้

ปล.สมาชิกที่เรียงออโต้ คนที่ 6 และ 7... ให้ถือว่า enroll โดย A และมี 1 เป็นอัพไลน์

"เราจ่ายค่าคอมฯเยอะที่สุดในประเทศไทย มากถึง 90%"

คอมมิชชั่นการจ่ายให้สมาชิกแผนองค์กรหลัก
รับรายได้มากกว่า 390,500 บาทต่อเดือน

ระดับชั้น

ค่าคอมมิสชั่น

จำนวนสมาชิกต่อชั้น

รวมรายได้

ชั้นที่ 1

100

5

500

ชั้นที่ 2

100

25

2,500

ชั้นที่ 3

100

125

12,500

ชั้นที่ 4

100

625

62,500

ชั้นที่ 5

100

3,125

312,500

รวม

500

3,905

390,500

ตัวอย่าง

คำอธิบาย

เมื่อเข้าสู่เดือนถัดมาหรือเลย 30 วัน ทุกคนเป็นสมาชิกเก่า A จะได้รับ จาก B C D และ E รวม 100x4 = 400 บาท และ
B จะได้จาก E อีก 100 บาท หากเดือนนี้ A แนะนำ F ได้ F เป็นสมาชิกใหม่ F ถูกจัดให้เข้าแผน FastStart A
จะได้รับจาก F 500 บาท เป็นต้น

ปล.ถ้าอธิบายแบบง่ายก็คือเมื่อคุณแนะนำสมาชิกใหม่ได้ คุณจะได้รับคอมมิชชั่น 500 บาททันที
เมื่อสมาชิกนั้นทำธุรกิจต่อในเดือนถัดไป คุณจะได้รับจากสมาชิกนี้ 100 บา

วิธีการเบิกถอนรายได้คอมมิชชั่นของคุณ

"คุณสามารถเบิกถอนได้เต็มจำนวนเงินคอมมิชชั่นของคุณโดยทางเราจะหักค่าใช้จ่าย
ในการดำเนินงานเพียง
10% ของรายได้ทั้งหมดของคุณ เช่น หากคุณเบิกถอนเงิน
ยอด
3,000 บาท จะคิดเป็นค่าดำเนินการระบบ 10% คือ 300 บาท และหักค่าโอน 25 บาท
(ต่อการเบิกถอน
1 ครั้ง) รวมรับสุทธิ 2,675 บาท เป็นต้น "

**
วิธีการต่ออายุเว็บไซต์ มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 500 บาท หากคุณไม่ชำระก็ยังสามารถทำ
ธุรกิจต่อไปได้ถึง
3 เดือน โดยคุณจะรับรายได้จาก Fast Start 300 บาท และสามารถ
รับได้รายได้จากแผนองค์กรหลักได้ตามปกติ
ระบบจะลบชื่อสมาชิกที่ไม่ได้ต่ออายุติดต่อ
กัน
3
เดือนออกและดันสมาชิกที่ติดตัวคนนั้นไปให้อับไลน์สมาชิกผู้นั้นทันที

สิ่งที่คุณจะได้รับเมื่อสมัครสมาชิกใช้บริการ Cloth2Rich.com

คุณจะได้เป็นสมาชิกของ Cloth2Rich.com อย่างสมบูรณ์แบบ
คุณจะมีสิทธิ์มีรายได้โดยการเป็นตัวแทนประชาสัมพันธ์และแนะนำเว็บไซต์
เว็บไซต์ภาษาไทยสำเร็จรูปสำหรับบริหารทีมงาน สร้างทีมงาน เช็คสายงาน เช็ครายได้
ระบบแจ้งเตือนทางอีเมล์ เมื่อมีผู้สมัครสมาชิกสนใจธุรกิจ
เวบบอร์ดสำหรับพบปะสมาชิก Cloth2Rich

-- ยินดีต้อนรับทุกท่าน --

"ทำในสิ่งที่เคยทำ ก็จะได้ในสิ่งที่เคยได้
ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ จะได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้"

สมัครสมาชิกทดลอง
ระบบฟรี 5 วัน คลิ้กที่นี่เลย

27 กรกฎาคม 2552

การบริการอาหารและเครื่องดื่ม ( Food and Beverage Services )





สวัสดีครับทุกๆท่าน


บทที่ ๑ แบบของการบริการอาหาร

( แบบของการบริการอาหาร ) หมายถึง การเสิร์ฟอาหาร โดยทั่วไปมี ๗ แบบ
๑. FRENCH SERVICE การเสิร์ฟแบบนี้เป็นที่หรูหราสิ้นเปลืองมาก ต้องใช้คน
เสิร์ฟสองคน และคนเสิร์ฟต้องชำนาญและคล่องแคล่ว อาหารที่เสิร์ฟจัดใส่ภาชนะที่สวยงาม หรือ
ใส่รถเข็น ถ้าเป็นของร้อนจะมีคนถือถาดหรือเข็นรถคนหนึ่ง และอีกคนหนึ่งจะตักอาหารเสิร์ฟแขก
โดยทางขวามือของแขกและเสิร์ฟด้วยมือขวา นอกจากขนมปัง เนย สลัด ที่กินกับ ENTREE
จะเข้าเสิร์ฟทางด้านซ้ายของแขกและเสิร์ฟด้วยมือซ้าย
๒. RUSSIAN SERVICE หรือ MODIFIED FRENCH SERVICE เปลี่ยนแปลง
มาจากแบบ FRENCH SERVICE เพื่อให้ง่ายและสะดวก ใช้คนเสิร์ฟคนเดียวถือถาดอาหารและตัก
เสิร์ฟด้วย โดยเข้าทางด้านซ้ายของแขก และคนเสิร์ฟใช้มือขวาตักอาหารให้แขก
๓. ENGLISH SERVICE เจ้าของงานจะตักอาหารใส่จานและจัดไว้ให้เรียบร้อย
คนเสิร์ฟหน้าที่ยกไปวางตามที่นั่งของแขกก่อนแขกจะมาเล็กน้อย
๔. AMERICAN SERVICE แบบนี้เป็นการจัดรวมแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
เพื่อให้สะดวก รวดเร็ว และง่าย อาหารที่เสิร์ฟจะจัดมาให้เรียบร้อยจากในครัว การเสิร์ฟใช้มือ
ซ้ายเข้าทางด้านซ้ายของแขก ยกเว้นเครื่องดื่มเข้าทางขวาของแขกและใช้มือขวา
๕. BUFFET SERVICE จัดอาหารวางบนโต๊ะให้แขกเลือกตักเอง
๖. CAFETERIA SERVICE ผู้บริการจะตักอาหารใส่ภาชนะ ตั้งให้แขก เลือกหยิบเป็นจาน ๆ
นอกจากของร้อนหรือเย็นจะมีคนช่วยตักส่งให้ตามแขกสั่งและเมื่อกินเสร็จเป็นหน้าที่ของแขกที่จะภาชนะมาคืน
ยังที่ที่กำหนด
๗. ARMS SERVICE เป็นการบริการใน COFFEE SHOP ต้องการความรวดเร็ว
ไม่มีพิธีรีตอง การเสิร์ฟใช้มือสองข้างยกอาหารมาคราวละมาก ๆ ตัวอย่างเช่น เสิร์ฟน้ำ ๑ ครั้ง
ได้ ๔ แก้ว โดยวางไว้ในมือซ้าย ๓ แก้ว มือขวา ๑ แก้ว เป็นต้น

ข้อมูลที่ควรทราบในการจัดเลี้ยง
๑. จำนวนคนที่จะมารับประทาน ในการจัดงาน อาหารต้องให้เพียงพอกับจำนวนคนที่จะมา
รับประทาน แต่อาหารไม่เหลือมาก
๒. ชนิดของคน คนแต่ละชนิดแต่ละเพศ แต่ละวัย มีรสนิยมในการรับประทานอาหารไม่
เหมือนกัน ผู้จัดการต้องทราบถึงคนที่จะรับประทานว่าเป็นชาติใด วันไหนเป็นส่วนใหญ่ ศาสนาอะไร
๓. สถานที่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริการคือ จะจัดบริการแบบไหน เช่น จัดในห้อง หรือจัด
นอกอาคาร ฯลฯ
๔. จัดอาหารเนื่องในโอกาสอะไร เช่น เลี้ยงรับรอง เลี้ยงต้อนรับ เลี้ยงวันเกิด เลี้ยงวันแต่งงาน
๕. เวลาและการบริการ เวลาในการจัดเลี้ยงต่างกันต้องจัดอาหารที่ต่างชนิดกัน เช่น เลี้ยงวัน
เกิด เวลา ๑๖๐๐ เป็นการเลี้ยงระหว่างเพื่อนฝูง ควรเป็นของว่างหรือของกินกับเครื่องดื่มไม่มีแอลกฮอล์
๖. งบประมาณ ผู้จัดที่ดีควรจะต้องรู้จักวางแผนให้อยู่ภายใต้งบประมาณที่ดี

คุณสมบัติและมรรยาทของการบริการ

เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าความสำเร็จของงานเลี้ยงส่วนหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับการบริการ ถ้าแขก
รับเชิญได้รับความประทับใจ ผู้บริการที่ดีได้รับการดูแลเอาใจใส่ทั้งอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งการ
บริการ การอำนวยความสะดวกในด้านอื่น ๆ ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของงานเลี้ยงนั้น ๆ
ดังนั้น บริกรควรจะได้ทราบถึงคุณสมบัติที่ดีและมารยาทหรือวิธีการบริการแขกรับเชิญด้วย
๑. คุณสมบัติที่ดีของบริกร
๑.๑ สุขภาพดีทาง กาย และใจ
๑.๒ สายตาดี
๑.๓ โสตสัมผัสดี
๑.๔ การปรากฎตัวที่ดี
๑.๕ สีหน้าดี
๑.๖ ร่างกายเป็นปกติ (ไม่พิการ)
๑.๗ มีความเข้มแข็ง
๑.๘ ท่าทางดี
๑.๙ แขน นิ้วที่แข็งแรงและคล่องแคล่ว
๑.๑๐ ความสูง และน้ำหนักปานกลาง
๑.๑๑ มีความฉลาดไหวพริบ
๑.๑๒ การพูดที่ดี
๑.๑๔ ความหมดจด เสื้อผ้า และเครื่องแต่งกายต้องสะอาด หนวดเคราไม่รุงรัง
๑.๑๕ ความสำรวม
๑.๑๖ ความทรงจำดี
๑.๑๗ รู้จัดกาลเทศะ
๑.๑๘ สนใจในการที่ได้รับมอบหมาย
๑.๑๙ อดทน
๑.๒๐ รู้จัดควบคุมอารมณ์
๒. มารยาทของบริกร
๒.๑ เลื่อนเก้าอี้ให้ผู้รับเชิญผู้ใหญ่
๒.๒ ในระหว่างเข้าปฎิบัติหน้าที่ อย่าหายใจรดผู้รับประทาน
๒.๓ อย่าไอ จาม หาว เรอ ด้วยเสียงอันดังในห้องรับประทาน เว้นแต่เวลาจำเป็นจริง ๆ
ต้องเอามือป้องกันเสีย
๒.๔ สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่งในขณะปฏิบัติหน้าที่ เช่น แคะขี้ตา แคะหู เอามือเสยผม
หวีผม เกาหัว แคะขี้มูก บีบสิว แคะฟัน
๒.๕ อย่าพูดคุยกันด้วยเสียงอันดังในห้องรับประทานอาหารในขณะยังมีผู้รับประทานอาหาร
นั่งอยู่
๒.๖ อย่าหัวเราะในเมื่อมีเรื่องขบขันในระหว่างผู้รับเชิญรับประทาน หรือผู้หนึ่งผู้ใดทำ
ผิดพลาด
๒.๗ อย่าหยิบอาหารที่ทำสำหรับจัดเลี้ยงรับประทาน ตลอดจนบุหรี่
๒.๘ อย่ายืนเหม่อหรือฟังผู้รับประทานคุยกันจนเผลอตัว
๒.๙ อย่าหยิบเก็บภาชนะสิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนการเสิร์ฟอาหารต่าง ๆ ข้ามแขน
หรือภาชนะของผู้รับประทาน
๒.๑๐ ในระหว่างเข้าปฏิบัติหน้าที่ ระวังอย่าให้ภาชนะกระทบร่างกายผู้รับประทาน
๒.๑๑ อย่าเก็บภาชนะรวม หรือซ้อนกันในโต๊ะต่อหน้าผู้รับประทาน
๒.๑๒ อย่าเก็บภาชนะให้กระทบกันมีเสียงดังเกินควร
๒.๑๓ ระวังอาหารหก หรือหยดรถผู้รับประทาน
๒.๑๔ ระวังภาชนะตกหล่นในห้องรับประทานอาหาร
๒.๑๕ คอยถอยเก้าอี้ให้ผู้รับเชิญผู้ใหญ่

๓. การปฏิบัติตนเมื่อได้รับคำต่อว่า ไม่ว่าจะถูกต่อว่าจากแขกในกรณีใดก็ตาม เช่น
อาหารไม่อร่อย อาหารไม่สุก บริการผิด ฯลฯ พนักงานบริการที่ดีถึงรับฟังคำต่อว่านั่นด้วยใบหน้าที่
ยิ้มแย้ม ไม่แสดงความไม่พอใจ และกล่าวคำขอโทษที่แขกไม่พอใจ รับฟังอย่างตั้งใจ อย่าโต้เถียง
เป็นอันขาด ถ้าสามารถจะทำให้แขกพอใจได้รีบทันที
๔. การปฏิบัติตนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ในขณะปฏิบัติงาน มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ทำอาหารหล่น
บนพื้นหรือทำภาชนะหล่น ควรอยู่ในความสงบและหาทางแก้ไข อย่าเน้นความบกพร่องที่เกิดขึ้น รีบ
แก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที่ ในกรณีที่ทำอาหารหกใส่แขก รีบกล่าวคำขอโทษถ้าอาหารที่หกไม่มากนัก
ควรส่งผ้าเช็ดมือที่ยังไม่ได้ใช้ให้แขกเช็ดเอง ถ้าอาหารที่รดแขกมาก ควรพาแขกเข้าห้องน้ำทันที

บทที่ ๒ แบบของการจัดเลี้ยง

การจัดเลี้ยงอาหารในสังคมปัจจุบันแบ่งได้ดังนี้
๑. การเลี้ยงอาหารแบบไทย
๑.๑ แบบนั่งกับพื้นจัดสำหรับเฉพาะคน แบบนี้เป็นการเลี้ยงตามประเพณีไทยแท้ หมายถึง
๑ คนต่อ ๑ สำรับคาว ๑ สำรับหวาน ๑ ใช้สำหรับเลี้ยงพระผู้ใหญ่หรือเจ้านายชั้นสูง
๑.๒ แบบนั่งกับพื้นรวมกันเป็นวง การเลี้ยงแบบนี้จัดเลี้ยงแขกหรือพระสงฆ์จะนั่งกับพื้นซึ่งปู
ด้วยเสื่อหรือพรม การวางอาหารจะวางของคาวก่อน อาหารทุกอย่างจะจัดมาวางตรงกลางทั้งหมด
และถ้วยหรือทุกคนจะมีช้อนกลางให้แขกตัก แขกทุกคนจะมีจานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ แก้วน้ำ
ประจำตัว ส่วนโถข้าว คนโฑน้ำจะใช้รวมกัน การจัดเป็นวง ๆ หนึ่งประมาณ ๕ - ๖ คน เมื่อแขก
รับประทานของคาวเสร็จแล้วก็จะเปลี่ยนของคาวออกแล้วนำของหวานเข้ามาเสิร์ฟแทน
๑.๓ แบบนั่งโต๊ะ การนั่งโต๊ะรับประทานอาหารเป็นวัฒนธรรมแบบตะวันตก โดยแทนที่จะวาง
อาหารกับพื้นรวมกันเป็นวง แต่การเสิร์ฟแบ่งเป็น ๒ อย่างคือ นำอาหารทุกอย่างมาวางบนโต๊ะและ
การเสิร์ฟอาหารที่ละอย่าง
๑.๔ แบบออกร้าน การเลี้ยงแบบนี้เหมาะสำหรับการเลี้ยงคนจำนวนมาก และต้องอาศัย
บริเวณกว้างขวาง และต้องเลี้ยงภายนอกตัวอาคาร การจัดอาหารแต่ละร้านไม่ควรซ้ำกัน

๒. การเลี้ยงอาหารแบบโต๊ะจีน
รายการอาหารที่นิยมจัดเลี้ยงโต๊ะจีนจะมีอาหารอย่างน้อย ๘ อย่างขึ้นไปเสิร์ฟเป็นลำดับ
ดังนี้
๒.๑ เริ่มต้นด้วยกับแกล้มเย็นและร้อน
๒.๒ ซุปน้ำข้นมีเนื้อซึ่งมักเป็นอาหารพิเศษ เช่น หูฉลาม
๒.๓ อาหารต่าง ๆ จัดเรียงลำดับกันตามความคิด ในเรื่องให้มีรสอาหารหลายหลาก และจัด
สมดุลของรสให้มีการประกอบรสกัน ส่งเสริมกันตามกันและแก้รสกัน การจัดลำดับอาหารที่ดีจะไม่ทำ
ให้ผู้รับประทานเกิดความรู้สึก “ เลี่ยน” หรือ “เอียน”
๒.๔ อาหารคาวกลุ่มสุดท้ายจะเสิร์ฟเป็นชุด ซึ่งมักจะประกอบด้วย ข้าวผัด หมี่ผัด แกงจืด
ต่าง ๆ หรือต้มยำ
๒.๕ อาหารทุกมื้อต้องมีปลา เพราะมีความเชื่อว่าปลาแสดงนิมิตหมายถึงความสุขสมบูรณ์
อาหารบางอย่างแสดงลักษณะพิเศษ เช่น เส้นหมี่ทุกประเภท แสดงถึงความยืนยาวของอายุ ควร
เสิร์ฟในงานวันเกิด ซาละเปาทอดใส่ถั่วกวนแสดงถึงความรุ่งเรือง
๒.๖ การจัดอาหารที่แปลกและที่ถือว่าเป็นของดี เช่น หูฉลาม เป๋าฮื้อ ปลิงทะเล หมูหัน
เป็ดปักกิ่ง รังนก ประกอบกับเห็ดหอม ซึ่งราคาก็สูงด้วยจะเป็นนิมิตหมายของการให้เกียรติอย่างสูง
๒.๗ ของหวานหรือผลไม้สด
๒.๘ เครื่องดื่ม เหล้าจีนเสิร์ฟได้ทุกโอกาส ไวน์สีชมพู ก็เหมาะสำหรับอาหารจีน ชาเป็น
เครื่องดื่มที่ควรเสิร์ฟประจำ นอกจากนั้นเครื่องดื่มอื่น ๆ ก็ไม่ขัดกับอาหารจีน
การจัดโต๊ะ ควรจัดโต๊ะประมาณ ๑๐ คน สำหรับโต๊ะมาตรฐานและ ๑๒ - ๑๔ คน สำหรับ
โต๊ะใหญ่ ซึ่งควรจะมีแป้นหมุนเพื่อความสะดวกในการเวียนอาหาร

๓. การเลี้ยงอาหารแบบตะวันตก
๓.๑ การจัดเลี้ยงอาหารแบบเป็นพิธี (Formal Dinner) สิ่งที่ต้องคำนึงในการจัดโต๊ะอาหารแบบเป็นพิธี
๑. ความสะอาด เครื่องมือเครื่อใช้ทุกอย่างที่ใช้ในการจัดโต๊ะต้องสะอาด ผ้าปูโต๊ะ
ผ้าเช็ดมือสะอาดรีดเรียบ เครื่องใช้ประเภทช้อน ส้อม มีด สะอาดขึ้นเงา แก้วใสสะอาด ถ้วยชาม
จานสะอาดไม่มีคราบน้ำ ตลอดจนอาหารที่จัดลงจานต้องจัดอย่างสะอาด
๒. ความมีระเบียบ จัดวางภาชนะให้ถูกที่และเป็นไปตามสากลนิยม วางจานห่าง
ช้อน ส้อมห่างขอบโต๊ะ ๑ นิ้วเท่า ๆ กัน มีดกับส้อมวางห่างกันเท่ากับวางช้อนส้อมห่างจากจาน
Main Dish แก้วน้ำวางขวามือห่างจากปลายมีด ๑/๒ นิ้ว จานขนมปังวางด้านซ้าย วางมีดเนย
มีดเนื้อ โดยหันคมเข้าในทุก Cover ที่จัดต้องเหมือน ๆ กัน มี ช้อน วางขวามือเสมอ ส้อมวาง
ซ้ายมือนอกจากจะใช้ส้อมอย่างเดียวจึงวางขวามือ
๓. ความประณีต เริ่มตั้งแต่การเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัด คือ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าเช็ดมือ
สีต้องกลมกลืน ผ้าปูโต๊ะเมื่อปูแล้วชายด้านตรงข้ามต้องเท่ากัน และทิ้งชายคลุมขาโต๊ะอย่างน้อย
๑๒ นิ้ว ไม่เกิน ๑๘ นิ้ว ถ้าสั้นหรือยาวเกินไปจะดูขัดตา แสดงให้เห็นความไม่ประณีตของผู้จัด
เครื่องถ้วยชามเข้าชุดกันทั้งเรื่องของเนื้อกระเบื้องและแบบ แก้วน้ำเลือกแก้วที่เนื้อแก้วชนิดเดียวกัน
ควรเลือกเนื้อแก้วที่ใส ช้อน ส้อม มีด ใช้แบบเดียวกัน และต้องขัดให้ขึ้นเงา
๔. ความสวยงาม สิ่งที่ใช้ตกแต่งต้องเลือกเริ่มตั้งแต่ภาชนะที่ใช้จัดดอกไม้หรือผลไม้
ดอกไม้ใบไม้ต้องล้าง เช็ดใบไม้ให้ขึ้นเงาก่อนที่จะใช้จัดเลือกภาชนะและดอกไม้ ใบไม้ที่จัดให้เข้ากัน และ
การจัดสิ่งที่ใช้ตกแต่งต้องให้เห็นความสำคัญของโอกาสที่จัดเลี้ยง

เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบเลี้ยง
๑. เครื่องกระเบื้อง หมายถึง จานชามที่ใช้ จานชามที่ใช้ต้องเลือกเนื้อและแบบชนิดเดียวกัน
จานที่ใช้ก็มีจานซุป จานรอง จานสลัด จานอาหาร Main Course จานหวาน ถ้วยกาแฟ จานขนมปัง
และจานเนย เป็นต้น
๒. เครื่องแก้ว มีแก้วน้ำ แก้วเหล้าชนิดต่าง ๆ เครื่องพวง แจกัน เป็นต้น แก้วที่ใช้ต้องให้
เนื้อและแบบเดียวกัน
๓. เครื่องเงิน เครื่องเงินที่ใช้ หมายถึง มีด ช้อน ส้อมต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมใช้ทำด้วยเหล็ก
ไม่เป็นสนิม (Stainless Steel) ของทุกอย่างที่ใช้ต้องสะอาดขึ้นเงา ไม่มีรอยนิ้วมือหรือคราบน้ำเกาะ
๔. ผ้า ผ้าปูโต๊ะที่นิยมใช้นิยมใช้สีขาวมีดอกในตัว การปูโต๊ะต้องมีซับในถ้าไม่มีซับในต้องหา
ผ้าหนา ๆ สีเดียวกันปูข้างใต้ก่อนที่จะปูโต๊ะ ผ้าเช็ดมือนิยมใช้ขนาด ๑๘ X ๑๘ นิ้ว ผ้าปูโต๊ะต้องสะอาด
ไม่มีรอยด่าง ไม่ยับและชายเท่ากัน และไม่มีรอยพับ
๕. เครื่องใช้ในการตกแต่ง การตกแต่งเพื่อให้สวยขึ้นการตกแต่งนอกจากจะนึกถึงความ
สวยงามต้องนึกถึงความสะอาดด้วย ของที่ใช้ในการตกแต่งมีหลายชนิด เชิงเทียนนิยมใช้อยู่ ๒ ชนิด
คือ เมื่อจุดแล้วสูงกว่าระดับตา และต่ำกว่าระดับตาของแขก

รายการอาหาร
รายการอาหารสำหรับเลี้ยงแบบเป็นพิธีในปัจจุบันจะมีไม่เกิน ๖ รายการ ซึ่งประกอบด้วย
๑. อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizers) เช่น ซุป หรือผลไม้สด หรืออาหารทะเล เช่น
หอย ปู กุ้ง
๒. อาหารปลา ซึ่งบางครั้งบางงาน จะยกเว้นข้ามไปเป็นอาหารเนื้อ หรือเอาอาหาร
อื่นมาแทนอาหารปลาก็ได้ ถ้าปลาหายากใช้ไก่แทนก็ได้
๓. อาหารจานหลัก Entrée หรือ Main Course ตามปกติใช้อาหารประเภทเนื้อหรือเป็ด
ไก่ อาหาร Entrée หรือ Main Course ตามปกติจะเสิร์ฟกับ Salad หรือจัดพวกผักไว้ในจาน
เดียวกันกับอาหารจานหลัก
๔. Salad บางครั้งก็จะไม่จัดต่างหาก จะจัดรวมอยู่ในจานเดียวกัน
๕. ของหวาน
๖. กาแฟ
ในการจัดรายการอาหารต้องให้สมดุลกันในเรื่องรส สี และเนื้อหา และเป็นอาหารที่กินง่าย
ทำง่าย จัดได้สวยงามทิ้งไว้นานก็ไม่เสียรูป

การจัดวางอุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร
๑. จานเนยวางด้านซ้ายของแขกระยะปลายส้อม มีเนยหันคมเข้าหาตัว
๒. แก้วน้ำวางด้านขวาปลายมีด
๓. ผ้าเช็ดมือวางด้านซ้ายพับเปิดมุม
๔. มีด ช้อน ส้อม จาน Entrée วางห่างจากขอบโต๊ะ ๑ นิ้ว มีดและช้อนวางขวามือ
หันคมเข้าด้านใน ช้อนซุปวางนอกสุดวางหงาย ส้อมวางซ้าย
๕. เนื้อที่ต่อ ๑ คน หรือ ๑ Cover ใช้เนื้อที่กว้าง ๑๘ นิ้ว
๖. ของที่ใช้ก่อนวางนอกสุด
๗. การวางแก้วเหล้า วางตามลำดับต่อจากแก้วน้ำลงมา แก้วที่ใช้ก่อนวางนอกสุดใน
การวางต้องให้ห่างเท่า ๆ กัน เช่น แก้วน้ำ ไวน์แดง ไวน์ขาว แก้วต้องใสสะอาด
๘. ถ้วยกาแฟวางด้านขวา วางหูของถ้วยกาแฟเป็นรูป ๕ นาฬิกา เพื่อให้แขกหยิบได้สะดวก
๙. การเก็บโต๊ะ อาหารคาวทุกชนิดเวลาเข้าเสิร์ฟเข้าด้านซ้ายของแขก เสิร์ฟโดยใช้มือซ้าย
ยกเว้นเครื่องดื่มเข้าด้านขวา ใช้มือขวาเสิร์ฟ การถอนจานเข้าทางด้านซ้ายของแขก ถอนด้วยมือซ้าย
แล้วส่งให้มือขวา
๓.๒. การจัดเลี้ยงอาหารแบบปุฟเฟ่ต์ (Buffet)
การจัดเลี้ยงอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ นิยมใช้เลี้ยงกับคนจำนวนมาก ในการเลี้ยงแบบนี้
แขกจะช่วยตัวเองตักอาหาร ดังนั้นอาหารทุกอย่างตลอดจนเครื่องดื่มจะจัดไว้ที่โต๊ะเรียบร้อย โดยมี
คนเสิร์ฟไว้ช่วยดูแลบ้างการจัด Buffet มี ๓ แบบ
๓.๑ แบบจัดอาหารทุกชนิดพร้อมอุปกรณ์ จัดวางไว้ที่โต๊ะแต่ละโต๊ะที่จัดวาง
จะมีเก้าอี้จัดให้นั่งตามจำนวนแขก แขกก็เลือกอาหารที่โต๊ะรับประทานเอง ถ้าอาหารจานไหนเลือก
ไม่ถึงหรือตักลำบากก็จะยกหรือส่งต่อกันในการจัดเลี้ยงแบบนี้ นิยมใช้ในบ้านใช้กับแขกจำนวนน้อย
ใช้กับแขกที่สนิทสนมกันดี
๓.๒ จัดอาหารลงถาดหรือจานใหญ่ ๆ โดยมีคนเสิร์ฟยกอาหารมาให้แขก
ส่งไปตามโต๊ะที่แขกนั่ง แขกจะตักเองตามชอบ ถ้าอาหารที่ไม่ชอบก็ปฏิเสธได้ ถ้าเป็นของที่ร้อน พวก
เครื่องดื่มก็มักจะใส่รถเข็น การจัดแบบนี้ต้องมีคนเสิร์ฟคอยรอที่โต๊ะ แขกเลือกตักเอง การจัดเลี้ยงแบบนี้
อุปกรณ์ทุกอย่างจะต้องวางไว้บนโต๊ะให้ครบ
๓.๓ จัดอาหารทุกชนิดและอุปกรณ์ทุกอย่างไว้บนโต๊ะ ให้แขกไปเลือกตักอาหารเอง
การจัดแบบนี้ต้องมีคนเสิร์ฟคอยรอที่โต๊ะ คอยช่วยเหลือแขกบ้าง ถ้าอาหารหมดต้องรีบเอามาเติมทันที
๓.๓ การจัดเลี้ยงแบบค็อกเทล ( The Cocktail Party)
การจัดเลี้ยงแบบค็อกเทลเหมาะที่จะใช้จัดเลี้ยงกับแขกจำนวนมาก ๆ เหมาะกับแขกใน
สังคมอีกระดับหนึ่งที่นิยมพบปะพูดคุยได้สะดวก ในระหว่างรับประทานอาหาร และไม่มีโต๊ะสำหรับนั่ง
รับประทานอาหารโดยเฉพาะ จะมีเพียงโต๊ะจัดวางอาหาร เวลาที่นิยมจัดเลี้ยงจะเริ่มระหว่างเวลา ๕
โมงเย็นถึง ๓ ทุ่ม เหมาะสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น งานเปิดบริษัท ร้านค้า งานแสดงความยินดีใน
โอกาสต่าง ๆ งานมงคลสมรส แนะนำสิ้นค้าใหม่ ต้อนรับผู้บริหารคนใหม่ อำลาผู้บริหาร หรือฉลอง
ความสำเร็จในโอกาสต่าง ๆ งานเลี้ยงค็อกเทลส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง เนื่องจากมี
เวลาสั้นและแขกหมุนเวียนเข้าออกมาก
อาหารที่ใช้จะเลือกอาหารประเภทคานาเป้และออร์เดิฟ และการจัดโต๊ะจะจัดแบบ
บุฟเฟ่ต์ การจัดเลี้ยงแบบนี้เพื่อพบปะพูดคุยกัน ไม่มีเก้าอี้ให้แขก แขกจะจับกลุ่มคุยกัน เดินไปมาเพื่อ
คุยกัน อาหารที่ใช้ควรเลือกอาหารที่รับประทานง่ายเป็นชิ้น ๆ หรือเป็นคำ ๆ สะดวกในการรับประทาน
ใช้มือหยิบจัดได้สะดวก สะอาดไม่ต้องใช้ช้อนหรือส้อม เลือกอาหารที่คล้าย ๆ กัน เช่น คานาเป้
แซนวิชเปิดหน้า อาหารทะเล เช่น กุ้งบาบีคิว เนื้อปั้นก้อน ฯลฯ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ควรจิ้มด้วย
ไม้จิ้มเพื่อให้แขกจับได้สะดวกไม่เปื้อนมือ จัดจำนวนให้เพียงพอ โดยคิดคำนวณมาว่า ๑ คนจะเสิร์ฟ-
กี่อัน
สำหรับเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ อย่างน้อยควรมี ๓ อย่าง เช่น ยิน หรือ
วอดก้า สก๊อตเบอร์เมิ้น และควรมีรัมสำหรับผสม นอกจากมีเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์แล้ว
ควรจะมีเครื่องดื่มสำหรับผู้หญิง เช่น พั้นซ์ (Punch) เหล้าเวอร์มูธ (Vermouth) น้ำมะนาวเหมาะ
ที่จะใช้เป็นเครื่อดื่มผสมกับเหล้าอื่น ๆ ได้ดี ตัวอย่างอาหารแบบค็อกเทลสำหรับงานเลี้ยง แห้วพัน
เบคอน หมูกับขิง ไส้กรอกกับมัสตาร์ด เนื้อปั้นก้อนปรุงรส หมูย่างแบบจีน เนื้อย่างแบบเกาหลี
ฮังกาเลียนค็อกเทล กุ้งกับเครื่องเทศ กุนเชียงกับผัก ลูกชิ้นปลาปรุงรส สับปะรดเนยแข็ง ขนมปัง
เนยแข็ง พิซซ่าหน้าเนยแข็งและแฮม แซนด์วิชหน้าแฮม แซนด์วิชหน้าไก่อบ แซนด์วิชเนยแข็ง
แซนด์วิชไข่ต้ม แขนด์วิชม้วนไส้ปลาซาร์ดีน คานาเป้หน้าไข่ปลาคาร์เวีย คานาเป้หน้ามะพร้าว
คานาเป้หน้ากุ้ง คานาเป้หน้าปู ฯลฯ เลือกอาหารได้ตามความเหมาะสมกับผู้รับประทาน แต่ถ้าเป็น
ค็อกเทลก่อนอาหารกลางวัน อาหารที่ใช้ควรเป็นพวกคานาเป้ และเครื่องดื่มอ่อน ๆ ที่ไม่ผสมแอล-
กอฮอล์ เช่น น้ำผลไม้ พั้นซ์ คานาเป้จัดเพียง ๒ - ๓ อย่าง
๓.๔ งานเลี้ยงน้ำชาและการจัดอาหารว่าง (Coffee Break)
การเลี้ยงน้ำชาจัดว่าเป็นอาหารว่างระหว่างมื้อ จัดได้ทั้งมื้อเช้าและบ่าย
การเลี้ยงน้ำชาเช้าจะเลี้ยงเวลา ๑๐๐ - ๑๑๐๐ จะเลี้ยงระหว่างมื้อเช้ากับกลางวัน
มักนิยมใช้กับงานการประชุม สัมมนา หรืองานพิธีต่าง ๆ ฯลฯ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียด
และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
การจัดโต๊ะน้ำชาหรือโต๊ะอาหารว่าง นิยมจัดแบบบุฟเฟ่ต์ โต๊ะที่จัดอาหารต้องเลือก
ขนาดใหญ่พอสมควร ปูผ้าปูโต๊ะให้เรียบร้อย ควรเลือกผ้าปูโต๊ะสีสด ๆ หรือสีหวาน ๆ ขึ้นอยู่กับงาน
สิ่งที่ใช้แต่งโต๊ะอาจใช้ดอกไม้สดกับเชิงเทียน ข้อสำคัญ ช้อน ส้อม จานแบ่ง ถ้วยกาแฟ ถ้วยชา
และกากาแฟต้องสะอาดขึ้นเงา
การเลือกอาหาร ควรเลือกอาหารที่มีสีสันสวยงาม ขนมปังสีน้ำตาลเข้ม เอแคร์
ตัวเล็ก ๆ เคอรี่พั้นซ์ชิ้นเล็ก แซนด์วิชไส้แฮม เค้กแต่งหน้าผลไม้ ฯลฯ การเลือกอาหารน้ำชาเช้าจะมี
อาหารจำพวกขนมหวานกับผลไม้ เช่น คุกกี้ เค้ก มะละกอสุก อาหารส่วนใหญ่จะเป็นอาหารหวาน
ไม่มีอาหารคาว การเลือกอาหารน้ำชาบ่าย จะมีอาหารจำพวกขนมหวาน และอาหารคาวและผลไม้
อาหารอาจจะมากอย่างกว่าอาหารเช้า เช่น แซนด์วิชปลาทูน่า คุกกี้งา ตะโก้เผือก เงาะ
ถ้วยกาแฟ จานรอง หรือจานแบ่งต้องจัดให้พอกับจำนวนแขก กระดาษเช็ดมือ
ควรจะจัดไว้ให้มากกว่าจำนวนแขก การจัดวางถาดอาหารต้องจัดวางไว้ที่แขกตักหรือหยิบได้สะดวก
พนักงานบริการจะคอยดูแลเรื่องการให้บริการชาหรือกาแฟให้ร้อยอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งแขกอาจจะเป็นผู้รินรับประทานเอง หรือพนักงานเป็นผู้บริการให้ก็ได้

บทที่ ๓ เครื่องดื่มที่ใช้ในการจัดเลี้ยง

เครื่องดื่มเป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดเลี้ยงรับรอง เช่นเดียวกันกับอาหาร เครื่องดื่มที่นิยมใช้
แบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ ๒ ประเภท คือ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และเครื่อดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มไม่มีแอลอฮอล์ (Soft Drink)
๑. น้ำดื่ม หมายถึงน้ำสะอาดตามมาตรฐานที่กำหนด
๒. น้ำแร่ หมายถึง น้ำที่ได้จากแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และมีแร่ธาติ
ผสมอยู่ เป็นคุณสมบัติสำหรับแหล่งน้ำนั้น ๆ น้ำแร่ที่มีแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณที่เหมาะสม
๓. น้ำโซดา เป็นเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ชนิดอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับ
ใช้ดื่มในบางโอกาส และนิยมปรุงผสมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์บางชนิด บางครั้งนำมาปรุงผสม
เครื่องดื่มประเภทอื่นให้มีรสซาบซ่า ชวนดื่ม
๔. น้ำอัดลม หมายถึง เครื่องดื่มที่ทำจากส่วนผสมของผลไม้ พืชหรือผัก ซึ่งพัฒนา
มาจากน้ำบรรจุขวด น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ประกอบด้วยน้ำสะอาด แต่งกลิ่นรส
และเติมกรดที่สามารถบริโภคได้ เช่น กรดจากผลส้ม และแต่งสี่ แล้วอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
๕. น้ำหวาน เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์และไม่อัดลม ประกอบด้วยน้ำตาล
ละลายน้ำ ประมาณร้อยละ ๘ - ๑๔ สำหรับน้ำหวานพร้อมดื่มและน้ำตาลร้อยละ ๖๖.๕ – ๖๗
สำหรับน้ำหวานเข้มข้น น้ำหวานทั่วไปประกอบด้วยน้ำสะอาดมาตรฐานน้ำดื่ม น้ำตาล สารปรุง
แต่งสี กลิ่น รส และสารกันเสีย น้ำหวานเข้มข้นก่อนดื่มต้องมีการทำให้เจือจางก่อน เช่น
เติมน้ำสะอาด หรือโซดา
๖. น้ำผลไม้ (Juice) หมายถึง เครื่องดื่มที่มีกลิ่นรสของผลไม้ซึ่งสามารถทำจาก
ผลไม้ได้แทบทุกชนิด บางครั้งอาจครอบคลุมถึงน้ำจากพืช ผัก สมุนไพร รวมทั้งดอกไม้ ซึ่งสามารถ
บีบคั้นเป็นเครื่องดื่มธรรมชาติเพื่อสุขภาพอนามัย
พั้นซ์ (Punch) คือน้ำผลไม้ปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้หลายอย่างผสมกันให้มี
กลิ่น สี และรสชาติแปลกใหม่แตกต่างกัน และอาจมีชิ้นผลไม้หั่นหรือตัดเป็นรูปร่างต่าง ๆ ลอยเพื่อ
ความสวยงาม บางครั้งอาจเติมน้ำโซดาก่อนเสิร์ฟให้มีรสซ่า ถ้าต้องการเติมน้ำแข็งให้เย็นต้องปรุงรส
ให้เข้มกว่าที่ต้องการ หรืออาจผสมสีในน้ำที่จะทำน้ำแข็งมาใส่เพื่อความสวยงามด้วยก็ได้
๗. ชา การทำชาเป็นเครื่องดื่มร้อนเรียกว่า การชง โดยการใช้น้ำร้อนเดือดใหม่ ๆ
เทราดบนใบชาในกาที่ทำด้วยวัสดุที่อุ้มความร้อน เช่น พอซแลน (Porcelain) หรือภาชนะเคลือบ
ปิดฝาทิ้งไว้ ๓ - ๔ นาที แล้วจึงรินน้ำชาหรือกรองใบชาทิ้ง นำไปดื่มได้เป็นชาร้อนโดยไม่เติมน้ำตาล
หรือนมเลย นิยมดื่มกันตามประเพณีจีน
๘. กาแฟ สกัดสารสำคัญจากเมล็ดกาแฟที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
ทำให้มีความรู้สึกสดชื่นกระปรี่กระเปรา เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปเลี้ยงสมองเกิดความรู้สึกตื่นตัว
ไม่ง่วง การชงกาแฟระดับโรงแรมได้พัฒนามาจากการชงกาแฟแบบพื้นเมืองที่ใช้กาแฟคั่วและลดชงด้วย
น้ำร้อนเดือดใหม่ ๆ เพื่อสกัดสารสำคัญจากเมล็ดกาแฟให้ละลายลงไปในน้ำกาแฟ สำหรับธุรกิจการ
บริการเครื่องดื่มจำพวกกาแฟ นิยมใช้กาแฟสำเร็จรูปซึ่งละลายน้ำร้อนได้ทันที เสิร์ฟพร้อมกับน้ำตาล
และครีมให้ลูกค้าปรุงตามชอบใจ
๙. โกโก้ ช็อกโกแลต ผลิตภัณฑ์ทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันที่ปริมาณไขมัน โกโก้จะถูก
สกัดไขมันออกแต่ช็อกโกแลตจะถูกเติมไขมันเพิ่มเข้าไป เครื่องดื่มที่ทำจากโกโก้และช็อกโกแลตจึง
แตกต่างจากเครื่องดื่มจากชาและกาแฟที่มีคุณค่าทางอาหารต่างกัน โกโก้ถูกนำมาเป็นเครื่องดื่มทำนอง
เดียวกับกาแฟโดยมีการปรุงผสมด้วยน้ำตาลและนม ทำให้มีคุณค่าอาหารสูงและอาจมีการปรุงแต่งกลิ่น
รสด้วยผลไม้และเครื่องเทศ
๑๐. น้ำแข็ง ผู้บริโภคจำนวนมากนิยมผสมน้ำแข็งในเครื่องดื่ม เพื่อให้มีความเย็น
น่าดื่ม
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (Hard Drink)
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อาจแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ตามขบวนการผลิตคือ
๑. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมัก เช่น เบียร์และสาเก เบียร์ที่
บริการอยู่ในห้องอาหารมีหลายชนิดหลายตรา แต่ที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่เป็นลาเกอร์เบียร์ ซึ่งมี
บริการทั้งในลักษณะเบียร์สด เบียร์ขวด และเบียร์กระป๋อง โดยเสิร์ฟเย็นในแก้วเบียร์และแก้วที่มีหูจับ
สาเกจะมีบริการเฉพาะในห้องอาหารบางแห่งนิยมเสิร์ฟอุ่น โดยวิธีที่เป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น
๒. เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักและกลั่นหรือเหล้ากลั่น ที่มี
บริการในห้องอาหารได้แก่ วิสกี้ วิน รัม วอดก้า และเทคิลา ส่วนใหญ่นิยมใช้ในการผสมเครื่องดื่ม
ประเภทค็อกเทล ยกเว้นวิสกี้ที่มักดื่มโดยใส่น้ำแข็ง หรือผสมน้ำ หรือโซดา
๓. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมัก กลั่น และปรุงแต่งกลิ่นรส
ได้รับความนิยม คือ เหล้าในตระกูลบรั่นดี บรั่นดีผลไม้ คอนยัก อาร์มายัก และเหล้าหวาน
ไวน์ (Wine) เป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มร่วมกับอาหาร เนื่องจากจะช่วยเพิ่มรสชาติ
ของอาหารให้มีความเอร็ดอร่อยมากขึ้น การดื่มไวน์ร่วมกับอาหารอาจดื่มได้ทั้งก่อนอาหาร ระหว่างมื้ออาหาร
และหลังอาหาร ขึ้นกับชนิดและประเภทของไวน์ อีกทั้งไวน์แต่ละประเภทก็เหมาะที่จะดื่มร่วมกับ
อาหารแต่ละชนิดจึงจะไปกันได้ดี ช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารและรสชาดของไวน์
ไวน์ เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งได้จากการหมักน้ำองุ่นโดยไม่มีการกลั่น
แบ่งได้ ๔ ประเภท เทเบิลไวน์ สปาร์กกลิงไวน์ ฟอร์ติไฟด์ไวน์ และอะโรมาไทธ์ไวน์ ไวน์แต่ละ
ประเภทจะมีกระบวนการผลิตและลักษณะโดยเฉพาะ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมาก จึงมี
การผลิตกันในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แหล่งผลิตที่สำคัญและมีชื่อเสียงคือ ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี
และสหรัฐอเมริกา ไวน์ที่มีคุณภาพดีจะต้องผลิตจากองุ่นที่มีคุณภาพดีด้วย การชิมไวน์เป็นสิ่งที่จะ
บ่งบอกคุณภาพของไวน์ก่อนการริน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนของการดูสี ความใน ดมกลิ่น และ
ชิมรสต้องมีการเตรียมการที่ถูกต้องและอาศัยความชำนาญ
ชนิดของไวน์
๑. เทเบิลไวน์ (Table Wine)
๑.๑ ไวน์แดง มีรสชาดหวานน้อย ฝาด มีกลิ่นมาก ความเข้มข้นมาก
จึงเหมาะที่จะรับประทานร่วมกับอาหารที่มีกลิ่นมาก ๆ เช่น อาหารประเภทเนื้อแดง เนื้อวัว เนื้อแกะ
เนื้อหมู เนื้อสัตว์ป่า รวมทั้งเนื้อเป็ด เนื้อกวาง สปาเกตตี้ พิซซ่า ถั่วและเนยแข็งได้เป็นอย่างดี
๑.๒ ไวน์ขาว มีกลิ่นและรสไม่เข้มข้นเท่ากับไวน์แดง และปราศจาก
ความฝาด จึงเหมาะที่จะดื่มกับอาหารที่มีกลิ่นและรสไม่มากนัก เช่น ปลา หอย อาหารทะเล เนื้อ
ที่มีสีขาวพวกเนื้อไก่ ไก่งวง เนื้อลูกวัว ไข่เจียว สลัด และอาหารที่มีรสชาดเบา
๑.๓ โรเซ่ไวน์ มีรสอร่อย ๆ ฝาดเล็กน้อย ให้ความสดชื่น มีกลิ่นหอม
ของน้ำผลไม้ มีความหวานจากหลายรสชาดรวม ๆ กัน จึงเป็นไวน์ที่ดื่มง่ายและเหมาะที่จะดื่มรวมกับ
อาหารกลางวัน แฮม ปลาที่มีเนื้อดำหรือมีไขมันมาก ปลาไซมอน และอาหารทุกชนิดรวมทั้งของหวาน
๒. สปาร์กกลิงไวน์ (Sparkling Wine)
ไวน์ประเภทนี้เหมาะที่จะดื่มกับอาหารและของหวานทุกชนิดได้แก่
แชมเปญ และสปาร์กกลิงไวน์อื่น เช่น Sparkling Burgundy
๓. ฟอร์ติไฟต์ไวน์และอะโรมาไทซ์ไวน์ (Fortified Wine and Aromatized
Wine
๓.๑ อะเมอริทิฟไวน์ ไวน์ชนิดนี้เหมาะที่จะดื่มกับอาหารเรียกน้ำย่อย
อาหารว่างหรือออร์เดิฟ ก่อนที่จะรับประทานอาหารหลักเพื่อเรียกน้ำย่อย เช่น Dry Sherry ,
Dry Madeira , Dry Nosselles , Muscadet
๓.๒ ดีสเชิร์ตไวน์ ไวน์ชนิดนี้มีแอลกอฮอล์สูง รสหวาน กลิ่นรสมาก
จึงเหมาะที่จะดื่มเป็นลำดับสุดท้ายของมื้ออาหาร หรือดื่มกับของหวาน เช่น Port , Sherry ,
Sauternes , Tokay

บทที่ ๔ ขั้นตอนในการบริการอาหารและเครื่องดื่ม

๑. กล่าวทักทายแขก
๒. ทราบจำนวนแขก
๓. เสิร์ฟน้ำเย็น
๔. เครื่องดื่มทุกชนิดเสิร์ฟทางด้านขวามือของแขก
๕. อาหารเข้าเสิร์ฟทางด้านซ้ายมือของแขก
๖. อย่าวางหรือถอนเครื่องมือใช้แล้วผ่านหน้าแขก
๗. ก่อนเสิร์ฟอาหารทุกชนิดให้ตรวจความสะอาดใต้ภาชนะนั้น เมื่อถอนจากที่ใช้แล้ว
จะได้ไม่เปลืองผ้าปูโต๊ะ
๘. ระมัดระวังเครื่องมือทุกชนิดอย่าให้ตกหล่น ถ้าพลาดพลั้งให้รีบเก็บทันที
๙. พยายามอย่าให้เกิดเสียงดังในขณะที่เสิร์ฟโดยไม่จำเป็น
๑๐. อย่าใช้มือจับอาหารเป็นอันขาด
๑๑. การถือจานเสิร์ฟอย่าใช้นิ้วมือจับจานด้านบนให้ใช้นิ้วหัวแม่มือจับจาน โดยวางแนบไปกับ
ขอบจาน และใช้อุ้งมือพยุงจานให้มั่นขณะเสิร์ฟแขก
๑๒. ขณะที่เข้าเสิร์ฟอาหารควรให้แขกรู้ตัวก่อน
๑๓. ให้เติมน้ำตลอดเวลา และไม่เก็บแก้วน้ำจนกว่าแขกจะออกจากโต๊ะอาหาร
๑๔. ในช่วงที่วางจากการเสิร์ฟให้ตรวจดูความเรียบร้อยบนโต๊ะแขกเสมอ
๑๕. ควรอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นแขกได้ทั่วถึง และเตรียมพร้อมที่จะบริการให้ทันท่วงที
ไม่หันหลังให้แขก
๑๖. พนักงานบริการที่ดีทุกคนควรยิ้มแย้มแจ่มใส มีกิริยามารยาทที่อ่อนโยนตลอดเวลา

การเสิร์ฟอาหารโดยใช้ถาด
การบริการอาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้ถาดพนักงานบริการสามารถให้บริการได้รวดเร็ว เป็น
การประหยัดเวลาและแรงงานได้มาก เนื่องจากสามารถนำอาหารมาจากครัวได้ครั้งละมาก ๆ การเสิร์ฟ
อาหารโดยใช้ถาด พนักงานบริการต้องคำนึงถึง
๑. ถาดที่ใช้ต้องสะอาด
๒. จานอาหารที่ใหญ่หรือหนักกว่าวางไว้ตรงกลางถาด จานอาหารเล็ก ๆ วางอยู่รอบนอก
๓. จานอาหารที่วางควรมีจำนวนพอสมควร ไม่น้อยเกินไปจนไหลลื่นหรือมากเกินไป
จนตกจากถาดขณะนำไปเสิร์ฟ
๔. ภาชนะใส่อาหารที่เป็นน้ำควรวางให้สมดุลกัน
๕. จานที่ใส่อาหารร้อนและเย็นไม่ควรวางติดกัน
๖. ภาชนะที่ใส่อาหารน้ำ ไม่ควรวางบนจานรองขณะใส่ถาดที่เสิร์ฟ
๗. กาที่ใส่ชาหรือกาแฟไม่ควรใส่จนเต็มเพราะอาจหกได้ หันพวยกาเข้าด้านในและอยู่ห่าง
จากจานอาหาร
๘. ไม่วางจานอาหารมากเกินไปจนซ้อนลงไปบนอาหารจานอื่น
๙. ถาดอาหารไม่ควรหนักเกินไป
๑๐. ถือถาดด้วยมือซ้าย เพื่อใช้มือขวาผลักประตู และเมื่อถึงโต๊ะเตรียมเสิร์ฟใช้มือขวาจัด
เตรียมที่ เพื่อให้มีที่ว่างพอที่จะวางถาดลงได้บนโต๊ะเตรียมเสิร์ฟ
๑๑. การถือถาดให้ถือเหนือศรีษะของลูกค้าที่นั่งอยู่และไม่บังผู้ถือถาด ใช้มือซ้ายยกถาดสูง
เสมอไหล่ ห่างจากผม และใช้มือขวาช่วยยึดตรงมุมฉาก
๑๒. ควรฝึกหัดถือถาดให้ถูกวิธี การถือถาดไม่ถูกวิธี จะทำให้เมื่อยกล้ามเนื้อหลังและไหล่
๑๓. ไม่ควรวางถาดลงบนโต๊ะลูกค้า แต่ควรวางละบนโต๊ะเตรียมเสิร์ฟ และเสิร์ฟอาหาร
จากที่นั้น
๑๔. ขณะเดินกลับ เก็บภาชนะหรือสิ่งของที่ไม่ต้องการกลับไปด้วย เพื่อประหยัดการเดินทาง
หลายเที่ยว

การเก็บจานอาหารที่รับประทานแล้วโดยใช้ถาด
๑. วางจานใหญ่ลงกลางถาด โดยซ้อนจานเล็กไว้บนจานใหญ่
๒. หยิบเครื่องมือในการรับประทาน ได้แก่ มีด ส้อม ช้อน วางไว้ข้างถาดโดยให้ ส่วนด้าม
อยู่ทางด้านเดียวกันหมด เพื่อป้องกันมิให้มือเปื้อนและง่ายต่อการส่งไปชำระล้าง
๓. แก้วน้ำและถ้วยกาแฟการวางในถาดคนละข้างกับช้อนส้อม หยิบหูถ้วยกาแฟและ
วางซ้อนกันลงในถาด แต่แก้วน้ำควรหยิบที่ก้นหรือก้านแก้ว และไม่ควรซ้อนกัน เพราะแก้วอาจ
ติดกันและอาจแตกได้
๔. วางจานอื่น ๆ ลงในที่ว่างที่เหลือในถาด โดยให้อยู่ในลักษณะที่สมดุลกัน
๕. ม้วนที่รองจานที่เป็นกระดาษและใส่ลงในแก้วน้ำ
๖. ม้วนกระดาษอื่น (ถ้ามี) วางบนจานที่ซ้อนไว้
๗. การถือถาดให้ใช้วิธีเดียวกับการนำมาเสิร์ฟ
๘. นำถาดไปยังที่ชะล้าง
๙. เมื่อกับออกมาจากครัว ควรนำภาชนะสิ่งของที่ต้องใช้ในครัวออกมาด้วย

การถือถาดและเครื่องแก้ว

การถือถาด
การใช้ถาดจะทำให้การเสิร์ฟและการถอนจานอาหาร และอุปกรณ์อื่น ๆ ปลอดภัยง่ายและ
รวดเร็วกว่าการถือจานซ้อนกันหลายใบทำให้ต้องเดินหลายเที่ยว
การเก็บจานอาหารโดยใช้ถาดไม่ค่อยนิยมหากแขกยังนั่งรับประทานอาหารอยู่ แต่จะนิยม
วางถาดไว้ขนรถเข็นหรือโต๊ะเก็บอุปกรณ์ ซึ่งสามารถถือจานอาหารด้วยมือก่อนแล้วจึงนำมาไว้ในถาด
เสิร์ฟ ยกเว้น การบริการแบบฟาสฟู๊ดซึ่งใช้ถาดเก็บจานอาหารที่โต๊ะ

การยกและถือถาดใส่อาหาร
๑. จับด้านขวาของถาดดึงถาดเข้าหาตัวประมาณครึ่งถาด
๒. ก้มตัวเล็กน้อย ใช้ฝ่ามือรองตรงกึ่งกลางถาดให้นิ้วมือซ้ายกางออก เพื่อรองรับความหนัก
ของถาดให้มากที่สุด
๓. ค่อย ๆ ดึงถาดด้วยมือขวาให้น้ำหนักอยู่บนฝ่ามือซ้าย
๔. จากนั้นถือถาพด้วยฝ่ามือซ้ายให้นิ้วทั้งหมดชี้ตรงไปด้านหน้าโดยรองรับส่วนที่หนักที่สุด
ของถาดไว้
๕. การถืออาจถืออยู่ในระดับเอวสำหรับถาดเล็ก ๆ ที่ไม่หนักมากนัก หรือถือโดยการแบกถาด
ในระดับไหล่ แต่ควรแน่ใจว่าถาดอยู่ในลักษณะสมดุลไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่งอันจะทำให้ภาชนะที่วาง
อยู่ลื่นไหล อาหารหรือเครื่องดื่มหกลงมายังถาด

สิ่งที่ควรระมัดระวังขณะถือถาด
๑. ถาดควรอยู่ในลักษณะสมดุลบนมือใดมือหนึ่ง เพื่อให้มืออีกข้างหนึ่งอิสระสามารถเปิดปิด
ประตู หรือหยิบภาชนะจากในถาดเสิร์ฟแขกได้สะดวก
๒. ควรจะมีผ้าที่สอดรองถาดเพื่อป้องกันภาชนะที่วางไหลลื่น
๓. ไม่ควรถือถาดใส่ขวดเครื่องดื่มจำนวนมาก หากต้องการใช้ถาดจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
๔. อย่าใส่ภาชนะบรรจุอาหารมากเกินไป บนถาดควรใส่ประมาณตามความสามารถของแต่ละ
บุคคล
๕. ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเสมอ

การจัดวางภาชนะอุปกรณ์บนถาด
๑. วางภาชนะอุปกรณ์ที่หนักที่สุดตรงกึ่งกลางถาด ภาชนะที่เบากว่าวางโดยรอบ เพื่อให้ได้
น้ำหนักที่สมดุลกัน
๒. ระมัดระวังขณะนำภาชนะออกจากถาด ต้องให้ถาดยังอยู่ในสภาพสมดุล
๓. กาชา กาแฟ หรือถ้วยซ้อสต่าง ๆ ควรหันออกจากตัวผู้ถือถาด เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย
จากน้ำร้อนหกรดผู้ถือ
๔. หากเป็นไปได้ เครื่องแก้วต่าง ๆ ไม่ควรใส่ในถาดเดียวกันกับเครื่องจานต่าง ๆ แก้วอาจจะ
แตกได้ง่าย แม้ว่าจานจะลื่นไหลเพียงเล็กน้อย

การเสิร์ฟกาแฟจากถาดเสิร์ฟ
หมายถึงการนำกาแฟพร้อมอุปกรณ์การเสิร์ฟทั้งหมดจัดใส่ถาดนำมาบริการแขกก่อนการเสิร์ฟ
จะต้องตรวจสอบอุปกรณ์ให้ครบถ้วน
อุปกรณ์การเสิร์ฟกาแฟ
- ถ้วยกาแฟ จานรอง ช้อนกาแฟ (Coffee Cup , Saucer , Coffee Spoon) ตรวจสอบ
ภาชนะ สะอาด ไม่มีรอยบิ่นหรือร้าว
- โถน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลก้อน หรือน้ำตาลซอง (Bowl of White , or Brown
Sugar , or Sachet Sugar)
- ช้อนตักน้ำตาล หรือคีมคีบน้ำตาลก้อน (Spoon of Tongs for Sugar)
- เหยือกนมหรือครีม (Milk or Cream Jug)
- กากาแฟ (Pot of Coffee)
- ถาดเสิร์ฟ (Tray)
หากมีอาหารเช่น เค้ก ควรมีอุปกรณ์ เช่น จาน มีด ส้อม ผ้าเช็ดปากด้วย

ขั้นตอนการเสิร์ฟกาแฟจากถาด
๑. เข้าไปใกล้ ๆ แขกทางด้านขวา วางชุดกาแฟทางด้านขวาของแขก
๒. ถามแขกว่าต้องการน้ำตาลมากน้อยเท่าใด แล้วเสิร์ฟน้ำตาล
๓. หมุนถาดที่ถือด้วยมือซ้ายนั้นให้พวยกาชี้ไปที่ถ้วยกาแฟของแขก
๔. ถามความต้องการของแขกว่าต้องการครีมหรือนมหรือไม่
๕. รินกาแฟใส่ถ้วยประมาณสองในสามของถ้วย
๖. หมุนถาดให้ที่รินครีมหรือนมชี้ไปยังถ้วยกาแฟ แล้วรินครีมหรือนมใส่ถ้วยกาแฟห่างจาก
ขอบถ้วยประมาณครึ่งเซ็นติเมตร
- หากกาแฟหกบนจานรอง ให้รีบกล่าวคำขอโทษแล้วเปลี่ยนจานรองให้ใหม่ทันที
- ตรวจดูกาแฟว่าร้อนเพียงพอหรือไม่ก่อนเสิร์ฟหรือเติมกาแฟทุกครั้ง

การตรวจสอบก่อนเสิร์ฟกาแฟ
๑. ตรวจความสะอาดของถ้วยกาแฟ จานรอง ช้อน ที่วางบนโต๊ะแขก
๒. ถ้วยกาแฟไม่ควรวางไว้ตรงหน้าแขก แต่ควรจะอยู่เยื้องไปทางด้านขวาเล็กน้อย หูจับ
ถ้วยกาแฟควรอยู่ในลักษณะหันไปทางด้านขวาของแขก (เพื่อแขกจะได้จับสะดวก) ด้ามช้อนวางอยู่ใต้
หูถ้วยกาแฟในลักษณะเดียวกัน
๓. เมื่อพนักงานเสิร์ฟรินกาแฟเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรเลื่อนชุดกาแฟไว้ตรงด้านหน้าของแขก

การเสิร์ฟกาแฟโดยไม่ต้องใช้ถาดเสิร์ฟ
๑. จัดวางเหยือกนมหรือครีมและโถน้ำตาลบนโต๊ะแขก ให้แขกช่วยเหลือตนเอง
๒. จับหม้อกาแฟด้วยมือขวา
๓. บางห้องอาหารอาจใช้ผ้าบริการหุ้มรอบ ๆ หม้อกาแฟและมัดรอบ ๆ หูจับ เพื่อให้กาแฟร้อน
อยู่เสมอ ป้องกันมือถูกความร้อนและช่วยรองรับน้ำกาแฟหยดลงพื้นหลังจากรินแล้ว
๔. หากมีการเสิร์ฟนมร้อนกับกาแฟ เหยือกนมจะเตรียมอุ่นไว้บนเตาอุ่นการเสิร์ฟก็เช่นเดียวกับ
กาแฟ โดยถือด้วยมือซ้าย นำไปเสิร์ฟพร้อมกับหม้อกาแฟ
การเสิร์ฟกาแฟหลังอาหารกลางวันหรืออาหารค่ำ บางห้องอาหารอาจใช้ถ้วยกาแฟขนาดเล็ก
ที่เรียกว่า Demi – Tasse ซึ่งมีความจะประมาณครึ่งถ้วยชา

การเสิร์ฟไวน์ มีขั้นตอนดังนี้
๑. นำเสนอไวน์ที่แขกเลือกแก่แขกที่สั่ง โดยให้แขกดูฉลากไวน์อย่างชัดเจน
๒. จากนั้นตัดตะกั่วหรือพลาสติกที่พันรอบจุกขวดทิ้งไป เพื่อมิให้ไวน์สัมผัสส่วนที่ตัดออก
เวลาริน และยังทำให้ดูสวยงามอีกด้วย
๓. เช็ดบริเวณปากขวดให้สะอาดด้วยผ้าแห้งที่สะอาด
๔. หมุนสกรูตรงกลางจุกไม้ก๊อก ไปทางขวาตรง ๆ แต่ไม่หมุนขวดไวน์
๕. เมื่อหมุนไปสุดกรูแล้ว ดึงขึ้นตรง ๆ ให้จุกก๊อกเผยออกจนหมด แต่อย่าให้เกิดเสียงดัง
ขณะเดียวกันอย่าหมุนขวดไวน์
๖. ทำความสะอาดปากขวดด้วยผ้าอีกครั้งหนึ่ง
๗. จากนั้นไวน์พร้อมที่จะรินให้แขกชิม

รินไวน์ การรินไวน์มีขั้นตอนดังนี้
๑. รินไวน์เล็กน้อยในแก้วของแขกที่สั่งไวน์เพื่อชิม
๒. เมื่อแขกชิมรสชาติและยอมรับแล้วจึงเริ่มเสิร์ฟไวน์แก่แขกคนต่อไป
๓. การเสิร์ฟไวน์ควรรินให้แขกโดยเวียนไปทางด้านขวาเริ่มจากสุภาพสตรีก่อน แล้วจึงเสิร์ฟ
สุภาพบุรุษ และรินให้แก่แขกผู้สั่งไวน์เป็นคนสุดท้าย
๔. การจัดขวดรินไวน์ ควรถือขวดโดยให้ฉลากอยู่ด้านบนเพื่อให้แขกสามารถอ่านฉลากโดย
จับขวดให้นิ้วชี้ตรงไหล่ขวดไวน์
๕. ถือขวดไวน์เหนือขอบแก้วเล็กน้อย รินช้า ๆ อย่าให้ปากขวดสัมผัสขอบแก้ว
๖. รินไวน์ใส่แก้วประมาณ ๑/๒ - ๒/๓ ของความสูงของแก้ว แล้วหมุนขวดเล็กน้อยเพื่อป้องกัน
ไวน์หยดลงบนโต๊ะ แล้วจึงยกขวดออกเช็ดด้วยผ้าขาวสะอาดอีกครั้งหนึ่ง
๗. วางขวดไวน์ไว้ให้ใกล้โต๊ะแขก หรือบนโต๊ะแขกตามความเหมาะสมเพื่อแขกสามารถ
ช่วยเหลือตนเองได้
๘. พนักงานควรเติมไวน์ให้แขกอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา

ข้อควรสังเกต
· เมื่อจะเสิร์ฟไวน์ขวดที่สองแก่แขก ควรเตรียมแก้วใหม่ให้แขกถึงแม้ว่าจะเป็นไวน์ชนิด
เดียวกันก็ตาม
· ก่อนการรินไวน์ให้แขกคนแรก บางครั้งพนักงานอาจจะดมจุกก๊อก หากมีกลิ่นที่ไม่ดี
อาจสันนิษฐานว่าจุกก๊อกแห้งอากาศสามารถเข้าได้และทำให้ไวน์เสียได้

การบริการ


สวัสดีครับทุกๆท่าน



การบริการ
S = Smile (อ่านว่า สม้าย) แปลว่า ยิ้มแย้ม
E = enthusiasm (อ่านว่า เอ่นทู้ซิแอ่สซึม) แปลว่า ความกระตือรือร้น
R = rapidness (อ่านว่า เร้ปปิดเนส) แปลว่า ความรวดเร็ว ครบถ้วน มีคุณภาพ
V = value (อ่านว่า ว้าลลู) แปลว่า มีคุณค่า
I = impression (อ่านว่า อิมเพริ้สเซน) แปลว่า ความประทับใจ
C = courtesy (อ่านว่า เค้อติซี) แปลว่า มีความสุภาพอ่อนโยน
E = endurance (อ่านว่า เอนดู้เรน) แปลว่า ความอดทน เก็บอารมณ์
สำหรับคำว่า “Mind” ก็ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
M = make believe (อ่านว่า เมค บิลี้ฟ) แปลว่า มีความเชื่อ
I = insist (อ่านว่า อินซิ้ส) แปลว่า ยืนยัน/ยอมรับ
N = necessitate (อ่านว่า เนอะเซ้สเซอะเตท) แปลว่า การให้ความสำคัญ
D = devote (อ่านว่า ดิโว้ต) แปลว่า อุทิศตน
ลักษณะของการบริการ
1.สาระสำคัญของความไว้วางใจ ( trust )
2.สิ่งที่จับต้องไม่ได้ ( intangibility )
3.ลักษณะที่แบ่งแยกออกจากกันไม่ได้ ( inseparability )
4.ลักษณะที่แตกต่างไม่คงที่ (heterogeneity)
5.ลักษณะที่ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ (perish ability)
6.ลักษณะที่ไม่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของได้ (non-ownership)
องค์ประกอบของระบบบริการ
1. ผู้รับบริการ
2. ผู้ปฏิบัติงานบริการ
3. องค์การบริการ
4. ผลิตภัณฑ์บริการ
5.สภาพแวดล้อมของการบริการ




แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริการ


ความหมายของการบริการ
จากการศึกษาความหมายของการบริการ พบว่ามีผู้ให้ความหมายของ การบริการ ไว้ดังนี้
วีรพงษ์ เฉลิมวิระรัตน์ (2542. หน้า 7) ได้ให้ความหมายของการบริการว่า เป็นสิ่งที่จับ สัมผัส แตะต้องได้ยาก และเป็นสิ่งที่เสื่อมสูญสลายไปได้ง่าย บริการจะได้รับการทำขึ้น (โดย/จากบริการ) และส่งมอบสู่ผู้รับบริการ (ลูกค้า) เพื่อใช้สอยบริการนั้นๆ โดยทันทีหรือในเวลาเกือบจะทันทีทันใดที่มีการให้บริการนั้น
จิตตินันท์ เดชะคุปต์ (2549. หน้า 7) ได้ไว้กล่าวว่า การบริการไม่ใช่สิ่งที่มีตัวตน แต่เป็นกระบวนการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น จากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่ต้องการใช้บริการ (ผู้บริโภค/ลูกค้า/ผู้รับ บริการ) กับ ผู้ให้บริการ (เจ้าของกิจการ/พนักงานงานบริการ/ระบบการจัดการบริการ) หรือในทางกลับกัน ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ ในอันที่จะตอบสนองความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้บรรลุผลสำเร็จ ความแตกต่างระหว่างสินค้าและการบริการ ต่างก็ก่อให้เกิดประโยชน์และความพึงพอใจแก่ลูกค้าที่มาซื้อ โดยที่ธุรกิจบริการจะมุ่งเน้นการกระทำที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า อันนำไปสู่ความพึงพอใจที่ได้รับบริการนั้น ในขณะนี้ธุรกิจทั่วไป มุ่งขายสินค้าที่ลูกค้าชอบและทำให้เกิดความพึงพอใจที่ได้เป็นเจ้าของสินค้านั้น
สุมนา อยู่โพธิ์ (2544. หน้า 6) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การบริการ หมายถึง กิจกรรมประโยชน์หรือความพอใจซึ่งได้เสนอเพื่อขาย หรือกิจกรรมที่จัดขึ้นรวมกับการขายสินค้า
คริสโตเฟอร์ เอช เลิฟล็อค และลอเรน ไรท์ (2546. หน้า 4) ได้ให้ความหมายการบริการ 2 อย่าง ดังนี้
บริการเป็นปฏิกิริยาหรือการปฏิบัติงานที่ฝ่ายหนึ่งเสนอให้กับฝ่ายอื่น แม้ว่ากระบวนการ (Process) อาจผูกพันกับตัวสินค้าก็ตาม แต่ปฏิบัติการก็เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ และไม่สามารถครอบครองได้
บริการเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างคุณค่าและจัดหา คุณประโยชน์ (Benefits) ให้แก่ลูกค้าในเวลาและสถานที่เฉพาะแห่ง อันเป็นผลมาจากการที่ ผู้รับบริการหรือผู้แทนนำเอาความเปลี่ยนแปลงมาให้
วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์ (2546. หน้า 15) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การบริการ หมายถึง กิจกรรมที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดขึ้นเพื่อให้แก่สมาชิกตามความสามารถและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน โดยอาศัยความต้องการของสมาชิกที่ได้รับบริการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการในระยะต่อไป พร้อมทั้งให้เกิดความพอใจแก่สมาชิก
วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์ (2548. หน้า 14) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การบริการ หมายถึง การกระทำ พฤติกรรม หรือการปฏิบัติการที่ฝ่ายหนึ่งเสนอให้อีกฝ่ายหนึ่ง โดยกระบวนการที่เกิดขึ้นนั้น
เอนก สุวรรณบัณฑิต (2548. หน้า 18) Lehtinen ให้คำนิยามว่า การบริการ หมายถึง กิจกรรมหนึ่งหรือ ชุดของกิจกรรมหลายอย่าง ที่เกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจการบริการ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริการ
ที่มา เอนก สุวรรณบัณฑิต, ภาสกร อดุลพัฒนกิจ (2548 หน้า 21 – 22)
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ (2549. หน้า 18) ได้ให้ความหมายของ การบริการ หมายถึง กิจกรรมของกระบวนการส่งมอบสินค้าที่ไม่มีตัวตน (intangible goods) ของธุรกิจให้กับผู้รับบริการโดยสินค้าที่ไม่มีตัวตนนั้นจะต้องตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการจนนำไปสู่ความพึงพอใจได้
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์ (2546. หน้า 12) ในปัจจุบันการบริการเข้ามามีบทบาทต่อชีวิต ประจำวัน และบุคคลได้จ่ายเงินเป็นจำนวนมากเพื่อการบริการ ประมาณได้ว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการทุกวันนี้ จะเป็นค่าบริการประมาณร้อยละ 45 และมีผู้ให้นิยามความหมายของการบริการไว้ดังนี้
จินตนา บุญบงการ (2539. หน้า 15) ได้ให้ความหมายของการบริการ ว่าเป็นสิ่งจับต้องสัมผัสแตะต้องอาศัยได้ยาก และเสื่อมสูญสภาพไปได้ง่าย บริการจะทำขึ้นทันทีและส่งมอบให้ผู้รับบริการทันทีหรือเกือบจะทันที ดังนั้นการบริการจึงเป็นกระบวนการของกิจกรรมของการส่งมอบบริการจากผู้ให้ไปยังผู้รับบริการ ไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้ชัดเจน แต่ออกมาในรูปของเวลา สถานที่รูปแบบ และที่สำคัญเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยทางจิตใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ คำว่าการบริการ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า SERVICE ซึ่งถ้าหากหาความหมายดี ๆ ให้กับอักษรภาษาอังกฤษ 7 ตัวนี้ อาจได้ความหมายของการบริการที่สามารถยึดเป็นหลักการปฏิบัติได้ตามความหมายของอักษร ทั้ง 7 นี้ คือ
S = Smiling & Sympathy ยิ้มแย้มและเอาใจเขามาใส่ใจเรา เห็นอกเห็นใจต่อความลำบากยุ่งยากของผู้มารับการบริการ
E = Early Response ตอบสนองต่อความประสงค์จากผู้รับบริการอย่างรวดเร็ว
R = Respectful แสดงออกถึงความนับถือให้เกียรติผู้รับบริการ
V = Voluntariness Manner การให้บริการที่ทำอย่างสมัครใจเต็มใจทำไม่ใช่ทำงานอย่างเสียไม่ได้
I = Image Enhancing การรักษาภาพลักษณ์ของผู้ให้บริการและภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย
C = Courtesy ความอ่อนน้อม อ่อนโยน สุภาพมีมารยาทดี
E = Enthusiasm ความกระฉับกระเฉง กระตือรือร้นขณะให้บริการและให้บริการมากกว่าผู้รับบริการคาดหวังเอาไว้
ฉัตรยาพร เสมอใจ (2547. หน้า 14) ได้ให้ความหมายของการบริการไว้ว่า กิจกรรมประโยชน์หรือความพึงพอใจที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอขาย หรือกิจกรรมที่จัดทำขึ้นรวมกับการขายสินค้าจากความหมายดังกล่าว สามารถอธิบายได้ว่า การบริการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. ผลิตภัณฑ์บริการ เป็นกิจกรรมผลประโยชน์หรือความพึงพอใจที่ผู้ขายจัดทำขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบหนึ่งเพื่อสนองความต้องการแก่ผู้บริโภค เช่น การนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การตรวจและรักษาโรค การจัดที่พักในรูปแบบต่างๆ การให้ความรู้และพัฒนาทักษะในสถานศึกษาต่างๆ การให้คำปรึกษาในการบริหารธุรกิจ หรือการให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ
2. การบริการส่วนครบ เป็นกิจกรรมผลประโยชน์หรือความพึงพอใจที่ผู้ขายจัดทำขึ้น เพื่อเสริมกับสินค้าเพื่อให้การขายและให้สินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น บริการติดตั้งเครื่องซักผ้าหลังการขาย การตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศตามระยะเวลา หรือการให้คำแนะนำในการใช้งานเครื่องพิมพ์ให้มีประสิทธิภาพ หรือการฝึกอบรมใช้เครื่องจักรในการผลิตให้กับลูกค้า
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ (2547. หน้า 18) ได้ให้ความหมายของการบริการไว้ว่า กิจกรรมของกระบวนการที่ส่งมอบสินค้าที่ไม่มีตัวตน (Intangible Good) ของธุรกิจให้กับผู้รับบริการ โดยสินค้าที่ไม่มีตัวตนนั้น จะต้องตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการจนนำไปสู่ความพึงพอใจได้ยาก
วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์ (2543. หน้า 6-7) ได้ให้ความหมายของการบริการไว้ว่า เป็นกระบวนการหรือกระบวนกิจกรรม ในการส่งมอบบริการจากผู้ให้บริการ (บริกร) ไปยังผู้รับบริการ (ลูกค้า) หรือผู้ใช้บริการโดยบริการเป็นสิ่งที่จับ สัมผัส หรือแตะต้องได้ยาก แต่เป็นสิ่งที่สูญสลายได้ง่าย บริการจะได้รับการทำขึ้นโดยบริกร และจะส่งมอบสู่ผู้รับบริการ(ลูกค้า) เพื่อใช้สอยบริการนั้นๆ โดยทันที หรือในเวลาเกือบจะทันทีทันใดที่มีการให้บริการหรือเกิดการบริการขึ้น
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2541. หน้า 142) ได้ให้ความหมายของการบริการว่า เป็นกิจกรรมผลประโยชน์หรือความพึงพอใจที่สนองความต้องการของลูกค้า
Kotler (1997.p.611) ได้จำกัดความของการบริการไว้ดังต่อไปนี้ การบริการเป็นการแสดงหรือสมรรถนะที่หน่วยงานหนึ่งๆ สามารถเสนอให้กับอีกหน่วยงานอันเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปลักษณ์อย่างเป็นแก่นสาร และไม่มีผลลัพธ์ในสภาพความเป็นเจ้าของในสิ่งใด โดยที่การผลิตอาจจะไม่ถูกผูกมัดกับผลิตภัณฑ์กายภาพ
ดังนั้น ในการรักษาคุณภาพการบริการจึงจำเป็นต้องควบคุมในทุกๆ หน่วยบริการให้เป็นที่พึงพอใจของผู้มารับบริการเสมอ คือ จะต้องมีการบริการดีทั้งองค์กร ซึ่งการบริการจะดีหรือไม่ดีต่อผู้มารับบริการนั้น ยังขึ้นอยู่กับความคาดหวังของผู้รับบริการ และในการสร้างธุรกิจองค์กรทุกชนิดต้องรักษาความพึงพอใจของผู้รับบริการให้อยู่ตลอด
จากความหมายของการบริการดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า การบริการ เป็นกิจกรรมการกระทำและการปฏิบัติที่ผู้ให้บริการจัดทำขึ้นเพื่อเสนอขาย และส่งมอบสู่ผู้รับบริการหรือเป็นกิจกรรมที่จัดทำขึ้นรวมกับการขายสินค้าเพื่อสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการอย่างทันทีทันใด ลักษณะของการบริการมีทั้งไม่มีรูปร่างหรือตัวตน จับสัมผัสแตะต้องได้ยากและเป็นสิ่งที่เสื่อมสูญสลายได้ง่ายแต่นำมาซื้อขายกันได้กกกกกก
ความหมายของธุรกิจบริการ
จากการศึกษาความหมายของธุรกิจบริการ พบว่ามีผู้ให้ความหมายของธุรกิจบริการไว้ ดังนี้
ฉัตยาพร เสมอใจ (2545. หน้า 10) ได้ให้ความหมายของธุรกิจบริการไว้ว่า เป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคเพื่อสร้างพึงพอใจแก่ผู้บริโภคและผลประโยชน์ของธุรกิจ
ปณิศา ลัญชานนท์ (2548. หน้า 163) ได้ให้ความหมายของธุรกิจบริการไว้ว่า เป็นการบริการ (Service) ซึ่งเป็นกิจกรรม ผลประโยชน์ หรือความพึงพอใจที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม ธนาคาร เป็นต้น
ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์ (2548. หน้า 1) ได้ให้ความหมายของธุรกิจบริการไว้ว่า เป็นองค์กรหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้หรือขายบริการ โดยปกติจะมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร ซึ่งการให้หรือขายบริการดังกล่าวอาจจะเป็นการให้หรือขายโดยตรงสู่ลูกค้าหรือโดยทางอ้อม หรือโดยต่อเนื่องก็ได้
จากความหมายของธุรกิจบริการดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ธุรกิจบริการ เป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจกรรมให้บริการซึ่งจะจัดหาบริการในรูปแบบต่าง ๆ และเสนอขายบริการให้แก่ผู้บริโภคเพื่อความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ความสนุกสนานบันเทิง ซึ่งการให้บริการดังกล่าวต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการและสร้างพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคได้และผู้ให้บริการจะเรียกค่าบริการเป็นค่าตอบแทน

ลักษณะของการบริการ
ปณิศา ลัญชานนท์ (2548. หน้า 163) ได้กล่าวถึง ลักษณะบริการว่าสามารถจำแนกออกเป็น 4 ประการ ดังนี้
1. ไม่สามารถจับต้องได้ (Intangibility) หมายความว่า ผู้บริโภค (ลูกค้าที่คาดหวัง) ไม่สามารถรู้สึกมองเห็น ได้ยิน ลิ้มรส หรือได้กลิ่น ทำให้ไม่สามารถทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะทำการซื้อ เช่น การทำศัลยกรรม หรือการโดยสารบนเครื่องบิน สิ่งเหล่านี้ผู้บริโภคไม่สามารถรู้ผลของการบริการได้จนกว่าจะมีการผ่าตัดหรือการเดินทางจริง ทำให้ผู้บริโภคพยายามจะแสวงหาสิ่งที่จะบ่งบอกถึงคุณภาพของการบริการ (Service quality) เพื่อทำให้ตัวเองเกิดความเชื่อมั่นที่จะใช้บริการนั้นๆ นักการตลาด จึงต้องพยายามทำให้บริการมีความสามารถในจับต้องได้ให้มากที่สุดโดยโปรแกรมการส่งเสริมการตลาดควรชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการอย่างชัดเจนมากว่าที่จะเน้นตัวบริการเท่านั้น
2. ความไม่สามารถแบ่งแยกได้ (Service inseparability) หมายความว่า การผลิตและการบริโภคเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ในประเด็นนี้จะตรงข้ามกับการผลิตสินค้าซึ่งเริ่มจากการนำวัตถุดิบมาผลิต แล้วนำไปเก็บไว้ในคลังสินค้า และหลังจากที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อจึงจะเกิดการบริโภค ส่วนบริการนั้นเริ่มจากการที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อแล้วจึงเกิดการผลิตและการบริโภคในขณะเดียวกัน เช่น ผู้บริโภคตัดสินใจว่าจะตัดผมที่ร้านนี้แล้วช่างตัดผมจึงเริ่มกระบวนการผลิต (การตัดผม) และผู้บริโภคได้รับผมทรงใหม่ในขณะเดียวกัน
3. ความไม่แน่นอน (Service variability) กล่าวคือ คุณภาพในการให้บริการจะผันแปรไปตามผู้ให้บริการ และขึ้นอยู่กับว่าให้บริการเมื่อไหร่ ที่ไหน และอย่างไร ตัวอย่าง ภาพรวมการให้บริการของโรงแรมแมริออท (Marriott) อาจสูงกว่ามาตรฐานทั่วไป แต่การให้บริการของพนักงานภายในโรงแรมแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน บางคนอาจให้บริการดีกว่าอีกคนหนึ่ง ซึ่งทำให้การให้บริการเกิดความไม่แน่นอน เป็นต้น
4. ความไม่สามารถเก็บไว้ได้ (Perish ability) บริการเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเก็บไว้ในโกดังหรือคลังสินค้า เมื่อบริการเกิดขึ้นนักการตลาดจะไม่สามารถเก็บไว้เพื่อขายหรือใช้ในภายหลังได้ ความไม่สามารถเก็บไว้ได้ และไม่เกิดปัญหาถ้าอุปสงค์ที่มีต่อบริการนั้นคงที่แต่เมื่ออุปสงค์ที่มีต่อบริการมีความผันผวนมาก จะทำให้เกิดอุปสรรคในการบริหาร เช่น ในช่วงที่ไม่ใช่วันหยุดเทศกาล โรงแรมและรีสอร์ทต่างๆ จะคิดราคาห้องพักในระดับต่ำ หรือกรณีของร้านอาหารจ้างพนักงานชั่วคราว เพื่อเสิร์ฟอาหารในช่วงที่มีลูกค้ามาก
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ (2549. หน้า 27) ได้กล่าวถึง การบริการมีลักษณะเฉพาะ 5 ประการ ดังนี้
1. ความไม่มีตัวตน (Intangibility) บริการไม่สามารถ มองเห็นจับต้อง และสัมผัสไม่ได้ (abstract) โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ไม่ว่าจะเป็นตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง บริการไม่สามารถแบ่งแยกเป็นชิ้นเหมือนสินค้าได้ เช่น หากจะซื้อน้ำหอม ผู้ซื้อย่อมจับขวดน้ำหอมมาทดลองฉีดได้ดมกลิ่นได้ หรือซื้อเป็นขวดได้
2. ความแยกจากกันไม่ได้ ระหว่างผู้ให้บริการและลูกค้าผู้รับบริการ (Inseparability) ในช่วงเวลาการให้บริการนั้น เช่น บริการนวดแผนโบราณ ผู้นวดและลูกค้าจะต้องอยู่พร้อมกัน ณ สถานที่ที่ให้บริการ ในการตรวจรักษาแพทย์และคนไข้จะต้องอยู่ที่เดียวกัน ทั้งสองฝ่ายก็ไม่สามารถ แยกจากกันได้ในช่วงเวลาที่ให้บริการนั้น
3. การเก็บรักษาไม่ได้ (Perish ability) การบริการต้องอาศัยคนในการให้บริการเป็นสำคัญ ดังนั้นหากไม่มีลูกค้ามาใช้บริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง พนักงานที่ให้บริการก็จะว่างงาน (idle) เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ใด ๆ
4. ความต้องการที่ไม่แน่นอน (Fluctuating Demand) ความต้องการใช้บริการของลูกค้าขึ้นลงอยู่เสมอ การให้บริการนั้นลูกค้านั้นจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการจะมากหรือน้อยต่างกันขึ้นกับช่วงเวลาในแต่ละวัน วันในต้นสัปดาห์หรือท้ายสัปดาห์ รวมทั้งฤดูกาล เช่น ที่สาขาของธนาคาร ช่วงพักกลางวันจะมีลูกค้ามาใช้บริการมากกว่าช่วงบ่าย ช่วงวันจันทร์และวันศุกร์จะมีลูกค้าฝากถอนเงินมากกว่าช่วงวันอื่น ๆ ในสัปดาห์
5. ความแตกต่างของการบริการในแต่ละครั้ง (Variability or Heterogeneity) ความแตกต่างในด้านคุณภาพในการให้บริการ เนื่องจากบริการต้องอาศัยคนหรือพนักงานในการให้บริการเป็นส่วนใหญ่ (labor intensive) ซึ่งการที่พนักงานจะยิ้มหรือไม่ จะให้บริการด้วยจิตใจอย่างแท้จริงหรือไม่ ต้องขึ้นกับองค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ เช่น พนักงานคนหนึ่ง เมื่อวันวานนี้ให้บริการดีมาก ยิ้มแย้มแจ่มใส ทักทายลูกค้าเป็นอย่างดี แต่วันรุ่งขึ้นพนักงานคนเดียวกันอาจถูกร้องเรียนว่าบริการไม่ดี ไม่ยิ้มแย้ม พูดจาไม่ไพเราะ สาเหตุเนื่องมาจากพนักงานคนนั้นไม่ได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่มเพราะต้องดูแลลูกสาววัยหนึ่งปีที่ป่วยเป็นไข้หวัดตลอดคืนที่ผ่านมา
เอนก สุวรรณบัณฑิต และ ภาสกร อดุลพัฒนกิจ (2548. หน้า 25 – 26) ได้กล่าวถึงลักษณะของการบริการ การบริการมีคุณลักษณะที่แตกต่างกับการผลิตสินค้าทั่วไป โดยการบริการมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. ความไว้วางใจ (Trust) การบริการเป็นกิจกรรมหรือการกระทำที่ผู้ให้บริการปฏิบัติต่อผู้รับบริการในขณะที่กระบวนการบริการเกิดขึ้น ผู้รับบริการไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะได้รับการปฏิบัติเช่นไร ดังนั้นการตัดสินใจซื้อบริการจึงเป็นสิ่งที่ต้องเกิดจากความไว้วางใจ ซึ่งต่างจากสินค้าที่สามารถเห็นรูปลักษณ์หรือเลือกคุณภาพได้
2. สิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangibility) การบริการเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้และไม่อาจสัมผัสได้ก่อนซื้อ ดังนั้นการตัดสินใจซื้อบริการต้องอาศัยความคิดเห็น เจตคติ และประสบการณ์เดิมที่ได้รับจากการตัดสินใจซื้อบริการนั้นในครั้งก่อน
3. ลักษณะที่แบ่งแยกออกจากกันไม่ได้ (Inseparability) การบริการมีลักษณะที่ไม่สามารถแยกตัวบุคคลหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้บริการได้ การผลิต การบริโภคและการบริการเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับการขายบริการนั้น ๆ ซึ่งแตกต่างกับสินค้าซึ่งต้องมีการผลิตและการขาย แล้วจึงมีการบริโภคในภายหลัง
4. ลักษณะที่แตกต่างไม่คงที่ (Heterogeneity) การบริการมีลักษณะไม่คงที่ และไม่สามารถกำหนดมาตรฐานที่แน่นอนได้ การบริการขึ้นอยู่กับแต่ละแบบของผู้ให้บริการ ซึ่งมีวิธีการให้บริการเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ทั้งนี้การบริการขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ช่วงเวลาของการบริการและสภาพแวดล้อมขณะบริการ
5. ลักษณะที่ไม่สามารถเก็บรักษาได้ (Perish ability) เมื่อไม่มีความต้องการใช้บริการจะเกิดเป็นความสูญเปล่าที่ไม่อาจเรียกกลับคืนมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ การบริการจึงมีการสูญเสียค่อนข้างสูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้บริการในแต่ละช่วงเวลา
6. ลักษณะที่ไม่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของได้ (Non-ownership) การบริการมีลักษณะที่ไม่มีความเป็นเจ้าของเมื่อมีการซื้อบริการเกิดขึ้น
นิติพล ภูตะโชติ (2549. หน้า 170 – 171) ได้กล่าวถึง ลักษณะของงานบริการ (characteristics of service) มีความแตกต่างจากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เพราะงานบริการมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งลักษณะเฉพาะของงานบริการแบ่งได้ดังนี้
1. จับต้องไม่ได้และมองไม่เห็น (Intangibility) งานบริการมีลักษณะเป็นนามธรรมไม่สามารถจับต้องได้ มองไม่เห็น และไม่มีรูปร่าง แต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถรับรู้ได้จากความรู้สึก หรือการแสดงออกบางอย่างของลูกค้า เช่น ความชอบ ความเกลียด ความพอใจ ความไม่พอใจความโกรธ เป็นต้น
2. ไม่สามารถแบ่งแยกได้ (Inseparability) งานบริการบางชนิดไม่สามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดเจน เพราะนอกจากเรื่องบริการแล้ว ยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่ได้รับจากบริการ เช่น ถ้าเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปประเทศเวียดนามโดยเครื่องบิน บริการที่ได้รับคือได้เดินทางถึงจุดหมายปลายทางและในระหว่างการเดินทาง พนักงานบริการบนเครื่องบินยังเสิร์ฟอาหาร เครื่องดื่มและอื่น ๆ ซึ่งสิ่งที่ได้รับไม่ใช่แค่เพียงการเดินทางถึงจุดหมายปลายทางเท่านั้น แต่ยังได้รับบริการอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้น บริการ สินค้า และผลิตภัณฑ์บางอย่างจึงไม่สามารถแบ่งแยกกันได้อย่างชัดเจน
3. สูญเสียง่ายหรือเสียหายง่าย (Perish ability) บริการต่าง ๆ ไม่สามารถกักตุนจัดเก็บหรือสต็อกเอาไว้ได้เหมือนกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพราะงานบริการมีเงื่อนไขเรื่องเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่สามารถเก็บบริการเอาไว้ขายได้ เช่น ในฤดูการท่องเที่ยว ห้องพักของโรงแรมจะมีลูกค้าเข้าพักเต็ม และยังมีลูกค้าอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถจองห้องพักในเวลานั้นได้ แต่ในช่วงฤดูฝน ห้องพักของโรงแรมว่างเป็นจำนวนมาก ซึ่งห้องพักที่ว่างจำนวนมากเหล่านี้ก็ไม่สามารถนำไปขายในฤดูกาลท่องเที่ยวที่ผ่านมาได้ เพราะมีเงื่อนไขของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง
4. งานบริการมีลักษณะทำซ้ำ ๆ (Repetitiveness) งานบริการจะมีลักษณะเป็นการทำงานซ้ำ ๆ หลายครั้ง เช่น พนักงานเสิร์ฟอาหารในห้องอาหารมีหน้าที่ต้อนรับลูกค้า รับคำสั่งจากลูกค้า นำคำสั่งไปสั่งอาหารและเครื่องดื่ม นำอาหารและเครื่องดื่มมาเสิร์ฟลูกค้า คอยดูแลความเรียบร้อย เก็บเงินเมื่อลูกค้าต้องการจะกลับ จัดโต๊ะอาหารเพื่อเตรียมต้อนรับลูกค้าคนใหม่ การทำงานของพนักงานเสิร์ฟอาหารในห้องอาหารจะทำงานในลักษณะเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกหลาย ๆ ครั้ง จนกว่าจะถึงเวลาเลิกงาน จะเห็นได้ว่าลักษณะของงานบริการจะปฏิบัติงานซ้ำแล้วซ้ำอีกหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างจากงานอื่น ๆ




5. ความเข้มข้นรุนแรงต่อความรู้สึกของพนักงาน (Labor Intensiveness) เนื่องจากลักษณะงานของการให้บริการพนักงานจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ลูกค้ามีความต้องการที่แตกต่าง อุปนิสัยที่ไม่เหมือนกัน อารมณ์ของลูกค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยอื่น ๆ การให้บริการไม่ใช่เรื่องง่ายที่ลูกค้าทุกคนจะได้รับความพึงพอใจเหมือนกัน พนักงานอาจจะพบกับลูกค้าที่มีอารมณ์ร้ายหรือลูกค้าที่จู้จี้จุกจิกสร้างปัญหา พนักงานให้บริการจะต้องเข้าใจในลักษณะงานให้บริการเป็นอย่างดีจึงจะสามารถทำงานในอาชีพนี้ได้

6. ความไว้วางใจ (Trust) เนื่องจากลูกค้าหรือผู้ใช้บริการไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ ว่าจะได้รับบริการที่ดีจากสถานบริการหรือไม่ ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องอาศัยความเชื่อถือหรือความไว้วางใจในสถานบริการเหล่านั้น เช่น อาจจะได้รับการบอกต่อถึงบริการจากเพื่อนหรือคนใกล้ชิดหรืออาจจะได้รับรู้จากประสบการณ์โดยตรง หรืออาจจะได้รับข่าวสารข้อมูลจากแหล่งอื่นจนเกิดความไว้วางใจและตัดสินใจไปใช้บริการ ลูกค้าก็คาดหวังว่าจะได้รับบริการที่ดี เพราะเกิดความเชื่อถือไว้ใจในสถานบริการดังกล่าว
ฉัตรยาพร เสมอใจ (2547. หน้า 15-17) ได้กล่าวว่าลักษณะของการบริการสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 ลักษณะได้ดังนี้
ü บริการไม่สามารถจับต้องได้ (Intangibility) เราไม่สามารถมองเห็น จับต้องหรือรู้สึกถึงการบริการใดๆ ก่อนการซื้อและรับบริการได้ แต่สามารถรับรู้ว่า บริการนั้นดีหรือไม่ ก็ต่อเมื่อได้เข้ารับบริการนั้นๆ แล้ว ในขณะที่ผู้บริโภคสามารถมองเห็น จับต้องหรือพิจารณาคุณสมบัติของสินค้าได้ก่อนการซื้อ เนื่องจากสินค้าจะมีตัวตนและคุณสมบัติที่ชัดเจน ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ จึงทำให้ผู้ตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น และง่ายต่อกว่าการตัดสินใจซื้อบริการ
ü บริการไม่สามารถแบ่งแยกได้ (Inseparability) การให้บริการและการรับบริการต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ไม่สามารถแยกกระบวนการผลิตและการบริโภคออกจากกันได้ ดังนั้น จึงเป็นข้อจำกัดในด้านผู้ให้บริการที่เป็นบุคคล และข้อจำกัดด้านเวลา ซึ่งสามารถให้บริการได้เพียงครั้งละ 1 ราย พนักงานผู้ให้บริการ 1 คน จึงไม่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าหลายๆ ราย ในเวลาเดียวกันได้ ในขณะที่สินค้าแยกกระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย การซื้อ และการบริโภคออกจากกันได้อย่างชัดเจน
ü การบริการไม่มีความแน่นอน (Variability) ในขณะที่การผลิตสินค้าอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ วัตถุดิบ เครื่องจักร และกระบวนการผลิต ที่สามารถเตรียมพร้อม ตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพของสินค้าได้ง่ายกว่า แต่ปัจจัยการให้บริการไม่ได้มีเพียงวัตถุดิบ เครื่องจักรหรือกระบวนการบริการ ที่เหมือนกันเพียงเท่านั้น แต่อยู่ที่ส่วนบริการ และเกิดขึ้นเฉพาะสถานการณ์เดียวเท่านั้นคือ เมื่อให้บริการและรับบริการ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับบุคคล ผู้อ่านอาจเคยพบสถานการณ์เหมือนกันได้ หรือการเลือกตัดผมกับช่างผมคนเดียวกัน ก็อาจตัดผมได้ไม่เหมือนกันในแต่ละครั้งเป็นต้น จากสถานการณ์ตัวอย่างดังกล่าว สามารถอธิบายได้ว่า คุณภาพของการบริการขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่ต้องอาศัยความพร้อมของพนักงาน หากพนักงานเกิดความไม่พร้อม ไม่ว่าจะทางด้านจิตใจหรือร่างกาย อาจส่งผลถึงคุณภาพของการบริการไปด้วย รวมถึงความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้รับบริการด้วย ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้และประเมินคุณภาพของบริการเช่นกัน เมื่อเกิดความรู้สึกหรือทัศนคติในทางลบ ก็อาจส่งผลต่อการประเมินคุณภาพที่ลำเอียง (Bias) ด้วยเช่นกัน
ü บริการจัดทำมาตรฐานได้ยาก (Heterogeneous) การผลิตสินค้าสามารถจัดทำมาตรฐานได้ชัดเจนทั้งรูปแบบ คุณภาพ และปริมาณ ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการผลิต ควบคุม และสามารถตรวจสอบได้ เนื่องจากสามารถกำหนดปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการผลิตได้ชัดเจนมากกว่า ในขณะที่การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการให้บริการ กลับเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้กระบวนการบริการเกิดความสะดวกและดูมีตัวตน แต่ปัจจัยหลักที่ช่วยในการให้บริการ คือ “คน” และคุณภาพการให้บริการขึ้นอยู่กับทักษะ ความสามารถ และอัธยาศัยของผู้ให้บริการแต่ละคน สิ่งนี้เองที่ทำให้ผู้ให้บริการที่มีฝีมือประสบความสำเร็จได้เฉพาะบุคคล ซึ่งส่งผลทำให้การแข่งขันด้านบริการทำได้ยากกว่า เนื่องจากขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ อีกทั้งการพยายามพัฒนาคุณภาพของบุคลากรให้เท่าเทียม และขยายศักยภาพในการให้บริการ เนื่องจากการสร้างมาตรฐานโดยอาศัยการจัดการคนให้มีมาตรฐานเดียวกันเป็นเรื่องยาก
ü บริการไม่สามารถเก็บไว้ได้ (Perish ability) เนื่องจากบริการผลิตได้เพียงครั้งละหนึ่งหน่วย และจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเกิดการซื้อและรับบริการในขณะเดียวกัน แต่ปัญหาของธุรกิจบริการคงจะไม่เกิดขึ้น หากความต้องการซื้อกับความต้องการขายมีปริมาณที่ตรงกัน จึงทำให้เกิดการบริการไม่เพียงพอ และสูญเสียโอกาสกับลูกค้ารายอื่นๆ ที่ผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการได้ และเกิดความสูญเปล่าแก่พนักงานที่ต้องอยู่ว่างๆ ในขณะที่ลูกค้าน้อย ในขณะที่ธุรกิจผู้ผลิตสินค้าสามารถทำการคาดคะเนล่วงหน้าและทำการผลิตเก็บไว้ เพื่อรองรับปริมาณความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แต่การบริการไม่สามารถทำได้
ประสิทธิ์ พรรณพิสุทธิ์ (2540. หน้า 22) ได้กล่าวถึงลักษณะการให้บริการ เพื่อการให้บริการเกิดความรวดเร็วถูกต้อง ครบถ้วนทุกขั้นตอน และมีความเสมอภาค 2 ลักษณะ คือ
- การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) คือ การให้บริการในสถานที่เดียวทั้งหมดทุกหน่วยงานที่ให้บริการ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และต้องให้บริการแล้วเสร็จเพียงครั้งเดียว โดยผู้มาติดต่อใช้เวลาน้อยและเกิดความพึงพอใจ
- การให้บริการแบบอัตโนมัติ (Automatic Service) เป็นการให้บริการโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย มีอุปกรณ์เพียงพอ ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา ประหยัดคน
กกกกกกกจากลักษณะของการบริการดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า การบริการมี 6 ลักษณะลักษณะแรก ความไว้วางใจ (Trust) เป็นการบริการที่ผู้รับบริการไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะได้รับการปฏิบัติเช่นไรลักษณะที่สอง เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangibility) เป็นบริการที่ไม่สามารถมองและไม่อาจสัมผัสได้ก่อนซื้อลักษณะที่สาม เป็นลักษณะที่แบ่งแยกออกจากกันไม่ได้ (Inseparability) เป็นการให้บริการที่ไม่สามารถแยกตัวบุคคลหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้บริการได้ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการบริโภคทำให้การบริการได้ครั้งละหนึ่งราย ลักษณะที่สี่เป็นลักษณะที่แตกต่างไม่คงที่ (Heterogeneity) เป็นการบริการที่ลักษณะไม่คงที่ และไม่สามารถกำหนดมาตรฐานที่แน่นอนได้ ลักษณะที่ห้า เป็นลักษณะที่ไม่สามารถเก็บรักษาได้ (Perish ability) บริการไม่สามารถผลิตเก็บไว้ได้เหมือนสินค้าอื่น ถ้าความต้องการมีสม่ำเสมอการให้บริการก็จะไม่มีปัญหา หากความต้องการซื้อกับความต้องการขายมีปริมาณที่ตรงกัน และลักษณะที่หก เป็นลักษณะที่ไม่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของได้ (Non-ownership) การบริการเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ทำให้ผู้รับบริการไม่สามารถเป็นเจ้าของได้เมื่อมีการซื้อการบริการเกิดขึ้น
ความสำคัญของการบริการ
สมชาย กิจยรรยง (2536. หน้า 15) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการบริการเป็นการให้บริการที่ดีและมีคุณภาพจากตัวบุคคลซึ่งต้องอาศัยเทคนิค กลยุทธ์ ทักษะและความแนบเนียมต่างๆ ที่จะทำให้ชนะใจลูกค้า ผู้ที่มาติดต่อธุรกิจ หรือบุคคลทั่วไปที่มาใช้บริการจึงถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ในปัจจุบันนี้ การให้บริการสามารถกระทำได้ ทั้งก่อนและในระหว่างการติดต่อหรือภายหลังการติดต่อ โดยได้รับการบริการจากตัวบุคคลทุกระดับภายในองค์กร รวมทั้งผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ การบริการที่ดีจะเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้ติดต่อกับองค์กรธุรกิจเกิดความเชื่อถือศรัทธา และการสร้างภาพลักษณ์ซึ่งจะมีผลในการจัดซื้อหรือบริการอื่นๆ ในโอกาสหน้า
ประเภทของธุรกิจบริการ
วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์ (2548. หน้า 33) ได้กล่าวถึง ธุรกิจบริการสามารถจัดประเภทได้ 4 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 การบริการต่อร่างกายลูกค้า (People Processing Service) ประเภทนี้ เป็นบริการที่มีการถูกเนื้อต้องตัวลูกค้าโดยตรง (เช่น ตัดผม นวดแผนโบราณ ฯลฯ) หรือไม่ก็เป็นบริการทางกายภาพ (เช่น บริการขนส่งมวลชน – เคลื่อนย้ายตัวลูกค้าไปที่จุดหมายปลายทาง) ซึ่งลูกค้าจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ให้บริการตลอดทั้งกระบวนการให้บริการ จนกว่าจะได้รับผลประโยชน์ตามที่ต้องการจากบริการนั้น





ประเภทที่ 2 การบริการต่อจิตใจลูกค้า (Mental Stimulus Processing Service) ประเภทนี้เป็นการให้บริการ โดยไม่จำเป็นต้องถูกเนื้อต้องตัวลูกค้า แต่เป็นการให้บริการต่อจิตใจอารมณ์หรือความ รู้สึกของลูกค้า (เช่น โรงภาพยนตร์ โรงเรียน วัด โบสถ์ ฯลฯ) ซึ่งลูกค้าเป็นต้องอยู่ในสถานที่ให้บริการตลอดทั้งกระบวนการให้บริการจนกว่าจะได้รับผลประโยชน์ตามที่ต้องการจากบริการนั้น แต่สถานบริการในที่นี้ อาจจะหมายถึง สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ที่เฉพาะเจาะจงในการให้บริการนั้น เช่น โรงละคร โรงภาพยนตร์ หรืออาจจะอยู่ในสถานที่ที่ไกลออกไป แต่ลูกค้ากับผู้ให้บริการสามารถติดต่อกันได้ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบโทรคมนาคม(เช่น บริการสืบข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต บริการเรียนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บริการระบบโทรศัพท์ไร้สายของ AIS และ DTAC เป็นต้น)
ประเภทที่ 3 การบริการต่อสิ่งของของลูกค้า (Procession Processing Service) ในหลายๆ ครั้งของการซื้อบริการ เราไม่ได้ซื้อให้กับตัวเราเอง แต่เราซื้อบริการให้กับสิ่งของของเรา เช่น บริการ ซัก อบ รีด(ซื้อบริการให้กับเสื้อผ้าของเรา) ไปหาสัตวแพทย์ (ซื้อบริการให้กับสัตว์เลี้ยงของเรา) เป็นต้น ดังนั้น บริการในกลุ่มนี้จะเป็นบริการที่ให้บริการโดยการถูกเนื้อต้องตัวสิ่งของสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งของลูกค้า ซึ่งลูกค้าจำเป็นต้องเอาสิ่งของหรือสัตว์เลี้ยงมาไว้ในสถานที่ให้บริการ โดยตัวลูกค้าไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานบริการในระหว่างที่เกิดการให้บริการก็ได้

ประเภทที่ 4 การบริการต่อสารสนเทศของลูกค้า (Information Processing Service) บริการในกลุ่มนี้เป็นบริการที่ทำต่อสิ่งของของลูกค้าเช่นเดียวกับบริการประเภทที่ 3 แต่ต่างกันตรงที่ ลักษณะของ “สิ่งของของลูกค้า” โดย “สิ่งของของลูกค้า” ในบริการประเภทที่ 3 จะเป็นของที่มีตัวตน แต่สิ่งของในประเภทที่ 4 จะเป็นของที่ไม่มีตัวตน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลสารสนเทศของลูกค้า บริการประเภทนี้ ได้แก่ ธนาคาร บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ บริการวิจัยการตลาด เป็นต้น

จากประเภทธุรกิจบริการดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ธุรกิจบริการมี 4 ประเภท คือ ประเภทแรก เป็นการบริการต่อร่างกายลูกค้า เป็นการบริการที่มีการถูกเนื้อต้องตัวลูกค้าโดยตรง เช่น ตัดผม นวดแผนโบราณ บริการที่พักอาศัย เช่น โรงแรม ประเภทที่สอง การบริการต่อจิตใจลูกค้า ด้านอารมณ์ หรือ ความรู้สึกของลูกค้า เช่น โรงภาพยนตร์ โรงเรียน วัด โบสถ์ ประเภทที่สาม เป็นการบริการต่อสิ่งของของลูกค้า เช่น บริการ ซัก อบ รีด ประเภทที่สี่ การบริการต่อสารสนเทศของลูกค้า จะเป็นสิ่งของที่ไม่มีตัวตน ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศของลูกค้า เช่น ธนาคาร บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ บริการวิจัยตลาดกกกกกก
แนวคิดการให้บริการ
จิตตินันท์ เดชะคุปต์ (2544. หน้า 15-17) ได้กล่าวว่า แนวคิดการให้บริการให้เกิดในจิตใจผู้ให้บริการ ต้องเริ่มจากการมีทัศนคติที่ดีในการบริการ หากทุกคนมีจิตสำนึกในการให้บริการ และถือว่าทุกคนในบริษัทมีความรับผิดชอบร่วมกัน ทุกคนล้วนเป็นทูตในความสัมพันธ์กับลูกค้า ความผิดพลาดบกพร่องในหน้าที่ บกพร่องในการบริการ จะมีผลต่อลูกค้าและเป็นการบ่อนทำลาย ชื่อเสียงของบริษัทในที่สุด ฉะนั้นผู้ให้บริการจะต้องคิดให้ได้เสมอว่า
1.กกลูกค้าต้องถูกเสมอ
2.กกผู้ให้บริการเป็นพระเอกไม่ได้เป็นแค่ตัวพระรอง
3.กกงานบริการเป็นงานผู้ให้
4.กกงานบริการเป็นงานฝึกระดับจิตใจ
5.กกรักงานบริการต้องทำใจและอดทน
6.กกบริการอย่างเอาใจลูกค้ามาใส่ใจเรา
7.กกยอมรับความแตกต่างของลูกค้า
8.กกบริการลูกค้าเสมือนญาติของตนเอง
9.กกบริการเสมือนเป็นเจ้าของกิจการ
ลักษณะที่ดีของผู้ให้บริการต้อนรับ
1.กกแต่งกายเรียบร้อย
2.กกพูดจาชัดเจน มีหางเสียงไพเราะ
3.กกทำตนเป็นคนสุภาพ สง่าผ่าเผย
4.กกยิ้มอยู่เสมอ ทั้งใบหน้า ดวงตา และริมฝีปากเป็นยิ้มที่สดชื่นประทับใจ
5.กกหลีกเลี่ยงคำกล่าวปฏิเสธ แต่ต้องพยามยามหลีกเลี่ยงการรับคำที่ยังไม่แน่ใจ
6.กกแสดงให้ปรากฏชัดว่าเต็มใจให้บริการ
7.กกหลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือฉุนเฉียว ใส่อารมณ์โกรธต่อผู้มาติดต่อทุกกรณี
8.กกระลึกไว้เสมอว่า ความอดกลั้นรักษาอารมณ์ขุ่นมัวนั้น คืองานหรือหน้าที่ของเรา
9.กกยกให้ประชาชนผู้มาติดต่อเป็นผู้ชนะหรือถูกเสมอ
สรุปได้ว่า แนวความคิดในการให้บริการเพื่อให้การบริการบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการบริการ นั้น ผู้ให้บริการจะต้องยึดถือลูกค้าเป็นหลัก ว่าถูกต้องเสมอ ดังคำกล่าวที่ว่า ลูกค้าคือพระเจ้า พนักงานบริการเป็นพระเอก เพราะจะต้องแสดงบทบาทให้ดี เพื่อให้ลูกค้าประทับใจและกลับมาเพื่อใช้ซ้ำ การบริการเป็นผู้ให้ จะต้องมีจิตใจอดทน เอาใจลูกค้ามาใส่ใจเรายอมรับลูกค้าเป็นเสมือนญาติของเราเอง และบริการลูกค้าเปรียบเสมือนเราเป็นเจ้าของกิจการเสียเอง ซึ่งพนักงานจะต้องมีลักษณะที่ดี คือ แต่งกายเรียบร้อย พูดจาชัดเจน มีหางเสียงไพเราะ ทำตนเป็นคนสุภาพ สง่าผ่าเผย ยิ้มแย้ม แจ่มใสอยู่เสมอ ทั้งใบหน้า และดวงตา และริมฝีปาก หลีกเลี่ยงคำกล่าวปฏิเสธ แสดงให้ปรากฏชัดเจนว่าเต็มใจให้บริการ ไม่มีอารมณ์ฉุนเฉียว ใส่อารมณ์ต่อลูกค้า ระลึกเสมอว่าต้องอดทน อดกลั้น ยกให้ลูกค้า หรือ ผู้มาติดต่อเป็นผู้ถูกอยู่เสมอ
หลักพื้นฐานของความสำเร็จในการบริการ
เอนก สุวรรณบัณฑิต และ ภาสกร อดุลพัฒนกิจ (2548 หน้า 21 – 22) ได้กล่าวไว้ว่าหลักพื้นฐานของความสำเร็จในการบริการ มีดังต่อไปนี้






Satisfaction ความพึงพอใจExpectation ความคาดหวัง
Readiness ความพร้อม
Values ความมีคุณค่า
Interest ความสนใจ
Courtesy ความมีไมตรีจิต
Efficiency ความมีประสิทธิภาพ

Service












ภาพก2กแสดงความสัมพันธ์การให้บริการ
ที่มา เอนก สุวรรณบัณฑิต, ภาสกร อดุลพัฒนกิจ (2548 หน้า 21 – 22)

1. ความพึงพอใจ (Satisfaction) ในการรับบริการและความพึงพอใจในการทำงานบริการ ซึ่งหากความพึงพอใจทั้งสองด้านบรรจบกัน การให้บริการที่เกิดขึ้นนั้นก็จะมีคุณภาพมากที่สุด แต่การมีความพึงพอใจของผู้รับบริการนั้นเกิดจากการได้รับการบริการที่ตรงกับความต้องการและเป็นไปตามความคาดหวังของผู้รับบริการ
ความพึงพอใจของการทำงานบริการเป็นการที่ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจในงานของตน อันอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน ค่าตอบแทน และ อื่น ๆ ซึ่งเป็นแนวทางที่องค์การธุรกิจบริการจะต้องจัดให้มีขึ้นทั้งสองด้านและประสานให้สอดคล้องกัน โดยสื่อสารให้ผู้ให้บริการทำความเข้าใจในความคาดหวังในการบริการของผู้รับบริการและผู้ให้บริการเต็มใจที่จะให้บริการตามนั้น ก็จะนำไปสู่ความพึงพอใจในการบริการร่วมกัน
2. ความคาดหวัง (Expectation) เป็นไปในสองแนวทาง เช่นกัน ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้ บริการต่างก็มีความคาดหวังต่องานบริการ ซึ่งหากองค์การธุรกิจบริการสามารถทราบและจัดสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่มีอยู่ ก็จะทำให้เกิดความพึงพอใจในการบริการขึ้น
3. ความพร้อม (Readiness) เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการจะต้องมีการจัดเตรียมให้เกิดทั้งในด้านบุคลากร อาคาร สถานที่ อุปกรณ์ ระบบสื่อสารและเทคโนโลยีต่างเพื่อให้เกิดการบริการที่มีคุณภาพเต็มรูปแบบได้
4. ความมีคุณค่า (Values) เป็นคุณค่าที่ผู้รับบริการประเมินได้จากการได้รับการบริการที่มีคุณภาพเมื่อเทียบกับค่าบริการที่เกิดขึ้น
5. ความสนใจ (Interest) เป็นความสนใจ กระตือรือร้นของผู้ให้บริการที่จะดำเนินการให้ บริการอย่างเอาใจใส่ต่อผู้รับบริการ และ พร้อมที่จะให้บริการแก่ผู้รับบริการอย่างเสมอภาคกัน
6. ความมีไมตรีจิต (Courtesy) เป็นการแสดงออกของพฤติกรรมให้บริการอย่างจริงใจมีอัธยาศัยและความเป็นมิตร โดยไม่เป็นผู้รับบริการเป็นงานที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้งานบริการมีคุณค่า
7. ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) กระบวนการในการให้บริการจะต้องมีระบบที่ทำให้การบริการเกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพสม่ำเสมอ ทุกฝ่ายมีบทบาทหน้าที่ชัดเจนและทำงานประสานกันเพื่อให้เกิดการให้บริการที่ดี มีประสิทธิภาพ
จากองค์ประกอบของความสำเร็จในการบริการดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า องค์ประกอบที่สำคัญของความสำเร็จในการบริการมี 7 ประการ คือ ประการแรก ความพึงพอใจของผู้รับบริการ (Satisfaction) ผู้ให้บริการจะต้องถือเป็นหน้าที่โดยตรง ที่จะต้องพยายามกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประการที่สอง ความคาดหวังของผู้รับบริการ (Expectation) ผู้ให้บริการจำเป็นที่จะต้องรับรู้และเรียนรู้ เกี่ยวกับความคาดหวังพื้นฐานและสำรวจความคาดหวังเฉพาะของผู้รับบริการเพื่อตอบสนองบริการ ที่ตรงกับความคาดหวังซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ ประการที่สาม ความพร้อมในการบริการ (Readiness) บริการหรือธุรกิจบริการ จำเป็นต้องตรวจสอบดูแลให้บุคลากร รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ให้มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา ในอันที่จะสอนบริการได้อย่างฉับพลัน และทันใจก็จะทำให้ผู้รับบริการชอบใจและรู้สึกประทับใจ ประการที่สี่ ความมีคุณค่าของการบริการ (Values) ทำให้ลูกค้าชอบและถูกใจกับบริการที่ได้รับ ย่อมแสดงถึงคุณค่าของการบริการที่คุ้มค่าสำหรับผู้รับบริการ ประการที่ห้า ความสนใจต่อการบริการ (Interest) ผู้ให้บริการจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจต่อลูกค้า หรือผู้รับบริการที่เข้ามาติดต่อ โดยเสมอภาคกัน ประการที่หก ความมีไมตรีจิตในการบริการ (Courtesy) ผู้ให้บริการจะต้องมีบุคลิกสง่างาม มีชีวิตชีวา ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาสุภาพอ่อนโยน รู้จักค้นหาความต้องการของผู้รับบริการ ที่มีทักษะและจิตสำนึกของการให้บริการ และประการที่เจ็ด ความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานบริการ (Efficiency) การกำหนดแผน ในการให้บริการและการพัฒนากลยุทธ์การบริการเพื่อให้การบริการที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ ย่อมแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการบริการ
การพัฒนาการบริการ
จินตนา บุญบงการ (2539. หน้า 26-28) ได้กล่าวถึงการพัฒนาการบริการจะมีขั้นตอนและวิธีการที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อการบริการให้เกิดความประทับใจและได้รับประโยชน์สูงสุดโดยเริ่มจากผู้บริหารสูงสุดลงไป ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
4.1 ผู้บริหารระดับสูงมีเจตนาอันแรงกล้า ในการให้บริการมีนโยบายการให้บริการที่ชัดเจนกำหนดให้หัวหน้าแผนกแถลงเป้าหมายและโครงการปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการในแผนกของตนเป็นประจำปี กำหนดคำขวัญประจำองค์กร แถลงนโยบายหรือประกาศเป้าหมายด้านการบริการอย่างชัดเจน และมีการประชุมผู้บริหารระดับสูงเพื่อการบริการที่เป็นเลิศ
4.2 มีการศึกษาหาความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์การให้บริการของพนักงานทุกระดับผู้บริการ เรียนรู้การกำหนดนโยบาย และการจัดทำกลยุทธ์ขององค์กร วิธีการวัดคุณภาพบริการ และเทคนิคต่างๆ ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการ มีการแถลงหรือแจ้งแก่พนักงานทุกคน และทุกคนเรียนรู้วิธีการให้บริการที่ดีที่สุด และเพิ่มพูนความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา
4.3 การวางแผนกลยุทธ์ด้านบริการที่ชัดเจน และสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะตัวขององค์กรนั้น โดยผู้บริหารระดับสูงมีการมอบหมายให้ทีมงานเฉพาะวางแผนกลยุทธ์ประจำองค์กรให้วางแผนกลยุทธ์ด้านงานบริการอย่างจริงจังและเป็นแผนชัดเจน กำหนดให้หัวหน้างานทุกคนรับรู้มีการประชุมชี้แจง และถือเอาไปปฏิบัติ ผู้บริหารระดับต่างๆ ต้องนำเสนอแผนงานในหน่วยงานหรือแผนงานที่ตนรับผิดชอบ จะต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์หลักของหน่วยงานด้านการบริการตามเป้าหมายประจำปี
4.4 ศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบระบบการบริหารงาน ที่สอดคล้องกันนโยบายด้านบริการและเอื้อให้แผนกลยุทธ์ด้านบริการที่กำหนดไว้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล มีการวิเคราะห์ระบบการให้บริการในแต่ละวงจรบริการ โดยใช้หลักความรวดเร็ว และความมีมาตรฐานด้านความพอใจในทุกจุดที่ให้บริการ มีการวางผังหน่วยบริการให้ไหลได้คล่องตามลำดับ ไม่วกวนทำงานให้ง่าย ผู้ให้บริการและผู้รับบริการเข้าใจ ทำหนังสือการบริการที่เหมาะสมกับหน่วยงานกับแต่ละหน้าที่ แจกโดยเน้นการเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย ใช้เป็นคู่มือ
4.5 มีโครงการสร้างจิตสำนึกการให้บริการที่ดี และการพัฒนาความสามารถในการให้บริการ อบรมพนักงานทุกด้านเรื่องการบริการอย่างสม่ำเสมอ จัดสัมมนาให้พนักงานรู้จักวิธีการจัดทำรายงาน หาจุดอ่อนในด้านการบริการของตน และใช้เป็นเครื่องมือช่วยวางแผนปรับปรุงงานบริการต่อไป จัดบรรยายพิเศษด้านประสบการณ์การบริการ จัดทัศนศึกษาดูงานการบริการ
ในองค์กรที่น่าทำเป็นแบบอย่าง จัดนิทรรศการส่งเสริมงานบริการ จัดประกวดคำขวัญการบริการที่ดี จัดการประกวดและให้รางวัล เช่น ให้รางวัลแก่พนักงานผู้ที่ได้รับคัดเลือกว่าเป็นผู้ให้บริการดีเลิศ
4.6 การปรับปรุงยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ที่เอื้อต่อการให้บริการ การปรับปรุงอาคารสถานที่ ให้สวยงาม โอ่งโถง สะดวกสบาย เพื่อลูกค้าที่มาติดต่อ จัดทำมาตรฐานเอกลักษณ์ของหน่วยงานมีป้ายชื่อผู้ให้บริการ รณรงค์ด้านความสะอาดเรียบร้อย ทั้งที่ทำงาน ห้องน้ำ สภาพแวดล้อมทั้งภายใน ภายนอก สถานที่ทำงาน
4.7 การยกระดับมาตรฐานงานบริการ โดยเสริมเครื่องอำนวยความสะดวก เครื่องมือเครื่องใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร การให้ระบบข้อมูลทางการบริการยุดใหม่ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยด้านข้อมูลและให้บริการ ปรับปรุงพัฒนาระบบสื่อสารที่ทันสมัย ใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เพื่อให้คุณภาพบริการดีขึ้น เพิ่มระบบให้ผู้รับบริการเข้าใช้บริการได้ทันที
4.8 รณรงค์ สร้าง ปลูกฝัง วัฒนธรรมในการบริการขององค์กร กำหนดไว้ในหน้าที่ของทุกหน่วยงานว่างานสำคัญ คือ การให้บริการลูกค้า ปลูกฝังคำขวัญ การอบรม หรือแผ่นป้ายให้พนักงานทุกคนตระหนักในขณะที่ปฏิบัติงานว่า “การบริการคืองานของพนักงานทุกคน” “ยิ้มเสมอเมื่อให้บริการ” “ความพึงพอใจคือหัวใจการให้บริการ”
4.9 จัดคณะทำงานเพื่อดำเนินโครงการ ปรับปรุงงานบริการ คณะทำงานทำแผนกลยุทธ์ด้านบริการ คณะทำงานสร้างเอกลักษณ์และเสริมภาพลักษณ์องค์กร คณะทำงานตรวจสอบมาตรฐานการบริการ คณะกรรมการประกวดโครงการบริการดีเด่น คณะกรรมการคัดเลือกพนักงานให้บริการดีเด่น
4.10 ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรให้ดีขึ้นตลอดเวลา จัดแผนกประชาสัมพันธ์แนะนำผู้รับบริการเรื่องขั้นตอน วิธีการเขียนคำขอ ช่วยจัดขั้นตอนเอกสารเพื่อให้ผู้รับบริการใช้บริการได้อย่างมั่นใจ สะดวกไม่เสียเวลา จัดทำกิจกรรมกลุ่มย่อย ควบคุมปรับปรุงคุณภาพการบริการ(กลุ่มคิวซี) ให้รางวัลแก่กลุ่มที่เสนอการปรับปรุงที่ดี ออกแบบและจัดผังการให้บริการผู้รับบริการใหม่ ทำให้สะดวกสบายขึ้น


นันทพร รัฐถาวร (2543. หน้า 38-39 อ้างอิงจาก ธงชัย สันติวงศ์ ) ได้ให้แนวคิดการพัฒนาระบบการบริการและวิธีการในการปรับปรุงการบริการของรัฐให้ดียิ่งขึ้น ต้องพัฒนาระบบการบริการให้มีกระบวนการและขั้นตอนที่สามารถแก้ปัญหาจากปัจจัยที่เป็นแรงกดดันทั้งหลายให้ลุล่วงไปได้มากที่สุด โดยมีวิธีการ ดังนี้
1. การจัดบริการที่มีคุณภาพ คือ การต้องรู้จักนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อบริการ ดังเช่น การรู้จักวางแผน และจัดหานำเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้งานและทำได้คมชัด ทำให้คุณภาพของงานดีขึ้น หรือในแง่ของคนผู้ทำงาน ก็ต้องมาอบรมและพัฒนาความรู้และทักษะต่างๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตสินค้า และการให้บริการทำได้ดีขึ้นด้วย เช่น การจัดฝึกอบรมให้รู้จักเครื่องมือสื่อสาร และเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ดีขึ้น หรือการสอนภาษาอังกฤษให้ เพื่อรองรับลูกค้าต่างประเทศให้ดีขึ้น หรืออ่านเอกสารได้มากชนิดขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
2. การลดต้นทุน ซึ่งอาจทำได้หลายทางด้วยกัน เช่น การพิจารณาปรับปรุงการทำงาน โดยการนำเครื่องจักรสมัยใหม่ที่มีราคาถูก ทำงานได้ถูกต้องแม่นยำเข้ามาช่วยคนทำงานในขั้นตอนต่างๆ การให้ความรู้และการอบรมเพื่อเพิ่มผลผลิต หรือการวิเคราะห์การสูญเสียและปรับปรุง หรือลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองให้ลดน้อยลงก็จะมีส่วนช่วยให้ต้นทุนลดลงได้
3. การเพิ่มคุณค่าให้ลูกค้าบริการของรัฐเช่นเดียวกับเอกชนที่สามารถสร้างเสริมสิ่งที่มีคุณค่าให้ลูกค้า หรือประชาชนที่มารับบริการได้ดังเช่นการให้มีบริการส่งเอกสารไปให้ที่บ้านหรือสามารถบริการหลายๆ อย่างในจุดเดียว เช่น ถ้าหากรัฐวิสาหกิจทั้งหลายที่ประชาชนแต่ละครัวเรือนจำเป็นต้องใช้บริการแยกกันนั้น หากได้รวมกันเพื่อให้ลูกค้าสามารถชำระค่าสาธารณูปโภครวมกันในจุดเดียว คือ ด้วยคำขอเรียกเก็บเงินใบเดียว หรือจ่ายผ่านบัญชีเดียว หรือติดต่อขอข้อมูลทั้งหมดในจุดหนึ่งจุดใดของรัฐวิสาหกิจใดๆ แล้วก็จะทำให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สร้างคุณค่าในเรื่องความสะดวกสบายและประหยัดเวลาได้มาก เป็นต้น
4. การปรับปรุงการให้บริการให้ทำได้รวดเร็ว สิ่งสำคัญที่สุดในยุคโลกาภิวัฒน์ คือ ความไวของสิ่งต่างๆ อันเกิดจากเทคโนโลยีซึ่งช่วยให้การดำเนินการหรือการทำกิจกรรมต่างๆ สามารถทำได้สะดวกง่ายและฉับไว ครบถ้วนถูกต้องมากขึ้น และต้องรู้จักนำเทคโนโลยีมาใช้สำหรับการปรับปรุงการทำงานและลดขั้นตอนการบริการ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การบริการทำให้ได้เร็วขึ้นและสามารถให้บริการได้ดีกว่าฉับไวกว่าของผู้แข่งขัน ตัวอย่างของหนังสือที่มีการพิมพ์บาร์โค้ดติดไว้ ย่อมทำให้การบริการได้ดีขึ้นกว่าและฉับไวกว่าของคู่แข่ง และสะดวกในการคิดเงินด้วยเครื่อง และถ้าหากมีการวางระบบเชื่อมโยงกับใบเสร็จโดยพิมพ์รายการให้ ก็จะทำให้เครื่องทำงานแทนคนได้ทั้งหมด ทำให้เกิดความถูกต้องสะดวกและทำได้รวดเร็ว
5. การให้บริการแบบครบวงจร (Package Service) เป็นการพัฒนาการบริการในเชิงรุก โดยยึดการตอบสนองความต้องการของผู้มารับบริการเป็นสำคัญ ความรวดเร็วในการให้บริการ ความกระตือรือร้นในการบริการความสุภาพอ่อนน้อมของเจ้าหน้าที่ ความเสมอภาคและเป็นธรรมสิ่งที่สำคัญที่สุด การให้บริการต้องเสร็จสมบูรณ์ (Completion) นั่นหมายถึงการเสร็จสมบูรณ์ตามสิทธิประโยชน์ของผู้รับบริการ โดยไม่ต้องกลับมาติดต่อบ่อยครั้ง นอกจากนั้นต้องเป็นธรรมและตรวจสอบได้
Examples of general
customer service at the Museum
http://www.nmm.ac.uk/server/show/nav.3096